จังหวัดปัตตานีจัดแสดงกริชโบราณอายุสามร้อยปี

มารียัม อัฮหมัด
2017.08.18
ปัตตานี
daggers1

นายตีพะลี อะตะบู ประธานกลุ่มเยาวชนทำกริชบ้านตะโละหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา แสดงรำกริชและรำไม้เท้า โรงแรมซีเอส อ.เมือง จ.ปัตตานี 18 สิงหาคม 2560 (มารียัม อัฮหมัด/เบนาร์นิวส์)

daggers2

แม่ค้าในพื้นที่ร่วมเปิดร้านขายกริช ในงานกริชาภรณ์ ภูมิปัญญาอาเซียน โรงแรมซีเอส ปัตตานี 18 สิงหาคม 2560 (มารียัม อัฮหมัด/เบนาร์นิวส์)

daggers3

ชาวมาเลเซียชื่นชมกริชอายุ 300 ปี จากปัตตานี ในงานแสดงกริช โรงแรมซีเอส ปัตตานี 18 สิงหาคม 2560 (มารียัม อัฮหมัด/เบนาร์นิวส์)

daggers4

ประชาชนเข้าชมงานแสดงกริช โรงแรมซีเอส ปัตตานี 18 สิงหาคม 2560 (มารียัม อัฮหมัด/เบนาร์นิวส์)

daggers5

ชาวปัตตานีสนใจดูรายละเอียดของกริช ในงานแสดง โรงแรมซีเอส ปัตตานี 18 สิงหาคม 2560 (มารียัม อัฮหมัด/เบนาร์นิวส์)

daggers6

ดาบของท่านมุอ๊าซ อิบนิ ญะบัล มิตรสหายผู้ใกล้ชิด ศาสดามูฮำหมัด(ซล.) ถูกวางแสดงในนิทรรศการพิพิธภัณฑ์วัตถุศิลป์ประวัติศาสตร์อิสลาม ที่ปัตตานี 18 สิงหาคม 2560 (มารียัม อัฮหมัด/เบนาร์นิวส์)

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี จัดงานกริชาภรณ์ ภูมิปัญญาอาเซียน ซึ่งภายในงาน มีการจัดนิทรรศการแสดงกริชรูปแบบต่างๆ ที่มีอายุถึง 300 ปี กว่า 600 เล่ม ที่นำมาจากทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน

บางเล่มที่นำมาจัดแสดง มีมูลค่าตั้งแต่ 4 หมื่นบาท ถึง 1.5 ล้านบาท สร้างความสนใจให้กับนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ และประชาชนในพื้นที่เป็นจำนวนมาก

กริช หรือ keris ในภาษามลายูเป็นมีดสั้นแบบหนึ่ง ใบมีดคดแบบลูกคลื่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในหมู่ผู้คนใน ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย กริชสามารถใช้เป็นทั้งอาวุธและวัตถุมงคล บ่งบอกถึงเหตุดีร้ายในชีวิตได้ ปัจจุบันคนนิยมสะสมเป็นของเก่าที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม และมูลค่า

"ปีนี้เรามีกริชมาร่วมแสดงกว่า 600 เล่ม บางเล่มที่นำมาจัดแสดงมีราคาตั้งแต่ 40,000-1,500,000 บาท นอกจากนี้ เรายังมีการนำผ้าอาภรณ์ เป็นผ้าที่มีอายุ 300 ปี นำมาจัดแสดง 2-3 ผืน...และมีการนำอาวุธของภาคกลางมาร่วมแสดงภายในงาน...เพื่อเปรียบเทียบการใช้อาวุธในสมัยอดีต ของชาวมลายูกับชาวภาคกลาง" ศศิเพ็ญ ละม้ายพันธุ์ วัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี กล่าว

ขณะที่ บริเวณห้องประชุมอาคารปาตานีเซ็นเตอร์ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีหลังเก่า ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามเพื่อการพัฒนา (PUKIS) ก็ได้จัดนิทรรศการพิพิธภัณฑ์วัตถุศิลป์ประวัติศาสตร์อิสลามและศาสดามูฮำหมัด(ซล.) เพื่อให้ผู้ที่เข้าชมนิทรรศการได้รำลึกถึงศาสดาและมิตรสหายของศาสดา

“กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าชม ได้ระลึกถึงคุณงามความดีท่านศาสดามูฮำหมัด (ซล.) และบรรดาซอฮาบัต (มิตรสหาย) รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้า ความรู้ทางประวัติศาสตร์อิสลามให้กับผู้ที่สนใจและประชาชนในพื้นที่” นายอัสนี ดอเลาะแล ประธานจัดงานนิทรรศการพิพิธภัณฑ์วัตถุศิลป์ประวัติศาสตร์อิสลามและศาสดามูฮำหมัด(ซล.) ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามเพื่อการพัฒนา (PUKIS) กล่าว

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง