จันทรุปราคาเต็มดวงส่องสว่างไสวกลางท้องฟ้า ในเอเชียอาคเนย์

ภิมุข รักขนาม รีนา ชาดิจาห์ และเอ็ม.ซัลธาน อัซซัม
2018.01.31
ประเทศไทยและอินโดนีเซีย
180131-TH-ID-moon-1.jpg

ภาพมุมกว้างในขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง หาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี วันที่ 31 มกราคม 2561 (ภิมุข รักขนาม/เบนาร์นิวส์)

180131-TH-ID-moon-2.jpg

เจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยาและธรณีฟิสิกส์และอื่นๆของอินโดนีเซีย ดูดวงจันทร์จากหอนาฬิกาแจม จามัง ในบูกิตติงกิ สุมาตราตะวันตก วันที่ 31 มกราคม 2561 (เอ็ม.ซัลธาน อัซซัม/เบนาร์นิวส์)

180131-TH-ID-moon-3.jpg

จันทรุปราคาเต็มดวงในเวลาประมาณ 20.29 นาฬิกา จังหวัดเพชรบุรี (ภิมุข รักขนาม/เบนาร์นิวส์)

180131-TH-ID-moon-4.jpg

พระจันทร์เริ่มดั้นเมฆให้เห็น โดยมีประชาชนมาเฝ้าชมที่ชายทะเลหาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี วันที่ 31 มกราคม 2561 (ภิมุข รักขนาม/เบนาร์นิวส์)

180131-TH-ID-moon-5.jpg

เด็กนั่งรอ ขณะผู้ใหญ่สวดภาวนาที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ในกรุงจาการ์ตา 31 มกราคม 2561 (รีนา ชาดิจาห์/เบนาร์นิวส์)

180131-TH-ID-moon-6.JPG

ประชาชนหลายพันคนเฝ้าดูปรากฏการณ์จากอนุสรณ์สถานแห่งชาติ กลางกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 31 มกราคม 2561 (รีนา ชาดิจาห์/เบนาร์นิวส์)

180131-TH-ID-moon-7.jpg

ตากล้องผู้สนใจปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์เล็งอุปกรณ์ไปในทิศทางที่พระจันทร์จะขึ้นภาพ หาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี วันที่ 31 มกราคม 2561 (ภิมุข รักขนาม/เบนาร์นิวส์)

180131-TH-ID-moon-8.jpg

ลำดับปรากฏการณ์การเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ที่หอนาฬิกาแจม จามัง ในจังหวัดบูกิตติงกิ สุมาตราตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย วันที่ 31 มกราคม 2561 (เอ็ม.ซัลธาน อัซซัม/เบนาร์นิวส์)

ท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยกลุ่มเมฆ ในกรุงจาการ์ตา ไม่ได้ทำให้ความกระตือรือร้นของประชาชนที่ออกมาเฝ้าชมปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงลดน้อย แม้ได้เห็นเพียง 15 นาที ก็ตาม

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ มีปรากฏให้เห็นที่ประเทศออสเตรเลีย แถบทวีปเอเชีย และ บางส่วนของประเทศรัสเชีย

ผู้สนใจชาวไทยและต่างชาติ ต่างเฝ้าชมปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ซุปเปอร์บลูบลัดมูน (Super Blue Blood Moon) ที่เกิดขึ้นอีกครั้งในรอบกว่า 150 ปี ในคืนวันนี้ ที่หาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีผู้มาเฝ้าชมพระจันทร์ตอนที่เริ่มดั้นเมฆขึ้นมาในตอนก่อนพลบค่ำ และถ่ายรูปเป็นที่ระลึกก่อนสิ้นแสงตะวัน จากนั้นได้เฝ้าชมจันทรุปราคาที่เงาโลกบดบังพระจันทร์สนิท ในเวลา 20.29 น.

ซุปเปอร์บลูบลัดมูน มีลักษณะสามประการ คือ เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ทำให้พระจันทร์มีสีคล้ายเลือด หรือ สีอิฐ (Blood Moon) โดยที่พระจันทร์โคจรเป็นวงรีเข้าใกล้โลกมาก จนทำให้ดูโตกว่าปกติราว 14 เปอร์เซ็นต์ (Super Moon) และยังเป็นวันเพ็ญครั้งที่สอง ในรอบเดือนเดียวกัน (Blue Moon)

ในกรุงจาการ์ตาของ ประเทศอินโดนีเซีย ประชาชนมารวมตัวกันที่อนุสาวรีย์แห่งชาติ กลางกรุงจาการ์ตา โดยผลัดกันดูจากกล้องดูดาวสองตัวที่ทางการจัดให้ ส่วนชาวมุสลิมอินโดนีเซียมีการสวดภาวนาพิเศษในวันนี้ และที่ท้องฟ้าจำลอง ใน ทามาน อิสมาเอล มาร์ซูกิ ในซิกินิ กรุงจาการ์ตาได้จัดกล้องดูดาวจำนวน 16 ตัว ให้ผู้เข้าชมปรากฏการณ์พิเศษครั้งนี้

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง