ปีวอกทอง มงคลยิ่ง ลาภพูนทวี

ทีมข่าวเบนาร์นิวส์
2016.02.08
new-year-01.jpg

ชาวเยาวราชขึ้นริ้วป้ายผ้าเฉลิมฉลองตรุษจีน 6 กุมภาพันธ์ 2559 (ภาพโดย ภิมุข รักขนาม)

new-year-02.jpg

บรรยากาศการซื้อหาขนมมงคล ย่านถนนเยาวราช 6 กุมภาพันธ์ 2559 (ภาพโดย ภิมุข รักขนาม)

new-year-03.jpg

แม่ค้าเครื่องมงคลกำลังพุดคุยกับลูกค้าริมถนนเยาวราช 6 กุมภาพันธ์ 2559 (ภาพโดย ภิมุข รักขนาม)

new-year-04.jpg

แม่ค้าและผู้จับจ่ายกำลังง่วนกับการซื้อหาไก่สำหรับไหว้เจ้า 6 กุมภาพันธ์ 2559 (ภาพโดย ภิมุข รักขนาม)

new-year-05.jpg

อาม่ากำลังจับจ่ายข้าวของในตลาดสุไหงโกลก นราธิวาส 6 กุมภาพันธ์ 2559 (ภาพโดย รพี มามะ)

new-year-06.jpg

การซ้อมการเชิดสิงโตโดยเยาวชน ก่อนวันตรุษจีน 7 กุมภาพันธ์ 2559 (ภาพโดย ภิมุข รักขนาม)

new-year-07.jpg

การแสดงการเชิดสิงโต ในห้างสยามพารากอน 7 กุมภาพันธ์ 2559 (ภาพโดย นนทรัฐ ไผ่เจริญ)

new-year-08.jpg

การแสดงตีกลองจีนโบราณ ที่ห้างสรรพสินค้า ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ 7 กุมภาพันธ์ 2559 (เบนาร์นิวส์)

new-year-09.jpg

ร้านขายทองตั้งโต๊ะกัง และพิพิธภัณฑ์ทองคำ เตรียมเครื่องไหว้บรรพบุรุษ ถนนมังกร กรุงเทพ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 (ภาพโดย ภิมุข รักขนาม)

new-year-010.jpg

ยีซัง อาหารจานพิเศษที่ชาวจีนในประเทศมาเลเซีย รับประทานเป็นประเพณี ในเทศกาลตรุษจีน 7 กุมภาพันธ์ 2559 (เบนาร์นิวส์)

new-year-11.jpg

ชาวไทยเชื้อสายจีนในยะลา เผากระดาษเงินกระดาษทอง ไหว้บรรพบุรุษ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 (ภาพโดย นาซือเราะ)

new-year-12.jpg

ชาวจีนกำลังไหว้เจ้า ที่วิหาร อามูร์วาบูมี ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ค่ำวันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 (ภาพโดย อรี เฟอดัส)

new-year-13.jpg

ไต้ซือพร้อมลูกศิษย์สวดมนต์ข้ามคืนรับปีวอก วัดในกรุงเทพฯ คืนวันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 (ภาพโดย ภิมุข รักขนาม)

เทศกาลตรุษจีนหรือเทศกาลปีใหม่ของชาวจีน มีมานานนับพันปีมาแล้ว ซึ่งเดิมถือเป็นการฉลองฤดูกาลใบไม้ผลิ และได้มีการเฉลิมฉลองเป็นเทศกาลปีใหม่สืบต่อกันมาจวบจนปัจจุบัน

ในประเทศไทย มีประชากรเชื้อสายจีนกว่าเก้าล้านคน หรือประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ของประชากรของประเทศที่มีอยู่ราวๆ 67 ล้านคน ชาวจีนที่ได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากในเมืองไทยมีมากขึ้น นับตั้งแต่ช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา

บรรพบุรุษชาวจีน ทั้งจีนแต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง จีนไหหลำ จีนแคะ เป็นต้น ได้โยกย้ายถิ่นฐานจากบ้านเกิดเมืองนอน และเข้ามากระจายตั้งรกรากแห่งใหม่ ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ของไทย ในยุคกาลต่อๆ มา โดยได้กระจายไปทั่วทุกจังหวัดของประเทศไทย ซึ่งเราจะเห็นร่องรอยย่านชุมชนของชาวจีน หรือที่นิยมเรียกกันว่า ไชน่าทาวน์ ในแทบทุกจังหวัด

ชาวไทยเชื้อสายจีน ยังคงสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมสืบต่อกันมาชั่วลูกหลาน และย่านที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของเมืองไทย ในกรุงเทพ คือ ย่านถนนเยาวราช หรือไชน่าทาวน์ เป็นย่านการค้าสินค้าต่างๆ รวมทั้ง ทองคำ และอาหารรสเลิศนานาชนิด จนกลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวไปโดยปริยาย สำหรับชาวไทยและชาวต่างชาติที่มักแวะเวียนกันมาตลอดวันถึงค่ำคืน

ในปีนี้ เทศกาลตรุษจีน ตรงกับวันเสาร์ที่ 6 ถึงวันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ โดยวันเสาร์เป็นวันจ่าย ทั้งชาวไทย-จีนได้ออกมาซื้อของ เพื่อเตรียมสำหรับไหว้เทพเจ้า และบรรพบุรุษ วันอาทิตย์ถือเป็นวันไหว้ และวันจันทร์เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งผู้คนมักถือเป็นวันออกเที่ยว หรือพักผ่อนในวันหยุด ส่วนในช่วงค่ำถึงกลางดึก ชาวจีนมักจะพากันไปกราบไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภหรือไฉ่ซิงเอี๊ยด้วย

ในปีนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร และยังบริเวณซุ้มเฉลิมพระเกียรติ เพื่อทรงเปิดพิธีฉลองตรุษจีนเยาวราช และทอดพระเนตรกิจกรรมงานฉลองตรุษจีน “ปีวอกทอง มงคลยิ่ง ลาภพูนทวี” ได้จัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 8 ถึง วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ ศกนี้

ปีนี้ยังเป็นปีที่ครบรอบความสัมพันธ์สี่สิบปีไทย-จีน อีกด้วย

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง