เว็บไซต์ อัล ฟาติฮินของไอเอส ไม่สามารถเข้าไปอ่านได้ในประเทศไทย

เอส. อาดี ซูล และ อิสมิรา ลุทฟีอา
2016.07.19
กัวลาลัมเปอร์ และจาการ์ตา
TH-alfatihin-800 ภาพหน้าจอแสดงป้ายผ้าของอัล ฟาติฮิน สิ่งพิมพ์ออนไลน์ฉบับปฐมฤกษ์ โดยกลุ่มรัฐอิสลาม สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เบนาร์นิวส์

เว็บไซต์ที่เบนาร์นิวส์สามารถเข้าได้ก่อนหน้านี้ ขณะนี้ไม่สามารถเข้าได้แล้ว ในประเทศไทย ประเทศซึ่งมีประชากรชาวมุสลิมอาศัยอยู่มากในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และในประเทศอื่น ๆ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย ก็มีความเห็นว่า กลุ่มที่เป็นผู้สนับสนุนการก่อตั้งเว็บไซต์นี้ อาจทำการปิดบล็อกเว็บไซต์ของตนเอง

ทางการมาเลเซียได้ปิดกั้นเว็บไซต์ที่เผยแพร่สื่อออนไลน์ ที่ตีพิมพ์โดยกลุ่มรัฐอิสลามหัวรุนแรง สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้บัญชาการตำรวจของมาเลเซีย กล่าวแก่เบนาร์นิวส์ ในวันอังคาร

คณะกรรมาธิการการสื่อสารและมัลติมีเดียมาเลเซีย (MCMC) ซึ่งควบคุมอินเทอร์เน็ตภายในประเทศได้ปิดกั้น alfatihin.com เว็บไซต์ที่มีการตีพิมพ์สื่อออนไลน์ ซึ่งใช้ชื่อเดียวกัน พล.ต.อ.คาลิด อาบู บาการ์ ผู้บัญชาการตำรวจมาเลเซีย กล่าวยืนยัน

"ใช่ ทางเราได้ขอให้ MCMC ปิดบล็อก และมันก็เข้าใช้ไม่ได้แล้วที่นี่ เรายังคงติดตามดูอยู่" คาลิด กล่าว

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ในประเทศมาเลเซีย นายซาเล ซาอิด คาร็อก รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสารและมัลติมีเดีย ประกาศว่า MCMC ได้บล็อก 11 เว็บไซต์และ 22 URL ที่ถูกสงสัยว่ามีส่วนร่วมในการเผยแพร่อุดมการณ์ของรัฐอิสลาม (IS) ในภาษามาเลย์ – ภาษาที่ใช้สื่อสารแพร่หลายในหมู่ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ทางภาคใต้ของไทย บรูไน และภาคใต้ของฟิลิปปินส์

นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยังเรียกร้องให้ประชาชนแจ้งทางการ หากพบเห็นเว็บไซต์ใด ๆ ที่ส่งเสริมหรือช่วยแพร่กระจายโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มไอเอส และทางการยังได้จัดตั้งฮอทไลน์[สายด่วน] เพื่อให้ประชาชนสามารถแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับเว็บไซต์ที่น่าสงสัยดังกล่าว

"ก็หวังว่าการติดตามอย่างต่อเนื่องและการดำเนินการของ MCMC และหน่วยงานอื่น ๆ จะป้องกันการแพร่กระจายของอุดมการณ์ขององค์การก่อการร้ายนี้ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์" สำนักข่าวเบอร์นามา กล่าวอ้างอิงคำพูดของรัฐมนตรีฯ

ในรายงานได้กล่าวว่า หนังสือพิมพ์ออนไลน์ 20 หน้า ของ อัล ฟาติฮิน ที่รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน โดย คาติบาห์ นูซันทารา (Katibah Nusantara) สมาชิกไอเอส สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีหน่วยรบในประเทศซีเรีย และอิรัก ได้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ ให้กับนักรบไอเอสชาวมาเลเซีย อินโดนีเซีย และนักรบที่พูดภาษามาเลย์

"นี่เป็นกลยุทธ์ส่วนหนึ่ง และการโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มไอเอส ที่ต้องการแสดงให้คนทั้งโลกเห็นว่า พวกเขามีกลุ่มสนับสนุนที่แข็งแกร่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน" นายไซนี ออธแมน หัวหน้าศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และความมั่นคง ของมหาวิทยาลัยมาเลเซีย ซาบาห์ บอกแก่เบนาร์นิวส์

'ผู้มีชัย'

ในประเทศอินโดนีเซีย ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์อัล ฟาติฮินได้ แต่ผู้ใช้ที่นั่นและในประเทศอื่น ๆ สามารถเข้าถึง สิ่งพิมพ์รูปแบบ PDF ผ่านทางอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์ที่เก็บเอกสารเก่า – ซึ่งเบนาร์นิวส์สามารถนำสำเนาออกมาได้

"เราไม่ได้ปิดกั้นเว็บไซต์ มันเข้าไม่ได้  อาจจะเป็นเพราะพวกเขา[เจ้าของ]ปิดไว้" นายอิสมาอิล คาวิดู โฆษกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อินโดนีเซียบอกแก่เบนาร์นิวส์ ในวันอังคาร

"อัล ฟาติฮิน " เป็นภาษาอาหรับแปลว่า "ผู้มีชัย"

แทกไลน์ภาษามาเลย์ ใต้ผืนผ้า (ในภาพ) อธิบายถึง สิ่งตีพิมพ์ ที่เป็นหนังสือพิมพ์ สำหรับกลุ่มคนพูดภาษามาเลย์ ที่อพยพไปอยู่ในดินแดนที่ประกาศและถูกควบคุมโดยกลุ่มรัฐอิสลาม ในซีเรีย และอิรัก

สิ่งตีพิมพ์ฉบับแรกมีบทความ รวมทั้งมีรายงานสดุดีการเสียชีวิตทหารฟิลิปปินส์จำนวนมากที่ถูกฆ่าตาย ในการปฏิบัติการกำหนดเป้​​าหมายกลุ่มที่เชื่อมโยงกับไอเอส ทางภาคใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ จุดปฏิบัติการสำคัญของกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง – และรายงานเกี่ยวกับกองพลรบท้องถิ่นของ กลุ่มอาบูเซยาฟ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จงรักภักดีต่อไอเอส

'รัฐอิสลามกำลังสูญเสียดินแดน': นักวิเคราะห์

ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงในภูมิภาคกล่าว รัฐอิสลามพยายามที่จะเพิ่มสมาชิกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการเผยแพร่ของสิ่งตีพิมพ์และเอกสารโฆษณาชวนเชื่ออื่น ๆ และมีการกำหนดเป้​​าหมาย เป็นผู้อ่านชาวมุสลิม ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ และภาคใต้ของประเทศไทย

"ไอเอสกำลังสูญเสียดินแดนในปกครองและกำลังคน [ในตะวันออกกลาง] จึงต้องการเรียกร้องความสนใจจากผู้คนให้มากขึ้น เพื่อหาสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น และต้องการการเข้าร่วมสนับสนุน จากกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ ที่จะมีการปฏิบัติการโจมตีในนามของพวกเขา ซึ่งจะเสริมส่งการโฆษณาชวนเชื่อของพวกเขา" นาย มูฮัมหมัด ฮาซิก เจนี นักวิเคราะห์วิจัยร่วมกับ ศูนย์ระหว่างประเทศ เพื่อวิจัยความรุนแรงการเมืองและการก่อการร้าย ในสิงคโปร์ ที่เพิ่งร่วมเขียนงานทางวิชาการเกี่ยวกับการตีพิมพ์ สิ่งพิมพ์ครั้งแรกในภาษามาเลย์ กล่าวแก่เบนาร์นิวส์  

เอส. ซุนดรามูรธี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในอาชญาวิทยา ที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์มาเลเซียเห็นว่า หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือใหม่สำหรับการสรรหาสมาชิกใหม่ และกำลังพยายามอย่างหนักหน่วงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์

"เป้าหมายยังคงเหมือนเดิม - ที่จะรับสมาชิกใหม่ในภูมิภาคและ ... คนในชนบทห่างไกลเมือง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ขาดแคลน [การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ]" นาย ซุนดรามูริ บอกเบนาร์นิวส์

"พวกเขาได้นำกลยุทธ์ที่นิยมใช้โดยองค์กรธุรกิจเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์หรือบริการของพวกเขา ผ่านเครื่องมือที่เป็นไปได้ทั้งหมด รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อส่งเสริมอุดมการณ์ของพวกเขา" เขากล่าวเสริม

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง