สปท.ผ่านมติให้ กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน มีวาระ 5 ปี แทนอยู่ถึงเกษียณอายุ

นนทรัฐ ไผ่เจริญ
2017.04.10
กรุงเทพฯ
TH-official-local-1000 ข้าราชการท้องถิ่นชูป้ายเรียกร้องให้ร่างรัฐธรรมนูญ รักษาโครงสร้างการบริหารท้องที่ระดับจังหวัด ให้คงไว้ในนโยบายการกระจายอำนาจของรัฐบาล ภาพเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2516
บางกอกโพสต์/เอเอฟพี

ในวันจันทร์ (10 เมษายน 2560) นี้ สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปท.) มีมติ 97 ต่อ 27 เสียง (งดออกเสียง 32 เสียง) เห็นชอบ “ข้อเสนอประเด็นสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2557 และร่าง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่…) พ.ศ…..” มีสาระสำคัญคือ ตำแหน่งกำนันมีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระ 5 ปี และมีการประเมินผลการปฎิบัติหน้าที่ทุก 3 ปี ซึ่งแม้จะมีการรวบตัวคัดค้านข้อเสนอดังกล่าวจากกลุ่มกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน แต่ไม่เป็นผล

นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปท.) กล่าวในที่ประชุมว่า เห็นควรให้มีการแก้ไขประเด็นสำคัญของ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ เนื่องจากเชื่อว่า การให้กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านอยู่ในวาระจนเกษียณอายุ มีผลกับการซื้อสิทธิขายเสียงของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)

“ถ้าเราจะแก้ปัญหาซื้อสิทธิขายเสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มิอาจละเว้นที่จะต้องแตะลงไปยังปัญหาของการได้มาซึ่งตำแหน่งกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน เพราะฉะนั้นจึงได้เสนอขอแก้ไขกลับไปสู่หลักการสำคัญในปี 2515 และปี 2535” นายคำนูณกล่าว

ขณะที่นายปรีชา บุตรศรี สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปท.) ได้คัดค้านข้อเสนอดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า การให้เลือกตั้งกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน และมีวาระ 5 ปีจะทำให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับนักการเมือง ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ในการมีกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน

“เราออกแบบกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านให้เป็นผู้ปกครองท้องที่ ไม่ได้ออกแบบให้เป็นนักการเมืองท้องถิ่น เราต้องการให้เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ มีความสืบเนื่องในประสบการณ์การทำงาน มีการรักษากฎหมาย ระเบียบ และความเป็นธรรมกับราษฎร มีการรับปัญหาของประชาชนไปสะท้อนให้กับนายอำเภอฟัง มีการปราบปราโจรผู้ร้าย บริบทเหล่านี้เป็นบริบทที่สำคัญของกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน” นายปรีชากล่าว

ด้าน นายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย เปิดเผยต่อสื่อมวลชนหลังยื่นหนังสือคัดค้านข้อเสนอแก้ไข พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแก้ไข พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ เนื่องจากเชื่อว่า การให้มีการเลือกตั้งกำนัน และมีวาระ 5 ปี จะทำให้กำนันมีลักษณะใกล้เคียงกับนักการเมือง และเกิดการเลือกข้าง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชน

“บริบทของการเป็นตำแหน่งกำนัน ไม่ได้เป็นแบบนักการเมือง เราเป็นแบบเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นคนที่เลือกมาแล้วให้ปฎิบัติหน้าที่รักษากฎหมาย อำนวยความเป็นธรรม บริการประชาชน รักษาความสงบเรียบร้อย ถ้าจะทำแบบเลือกตั้ง ยืนยันว่าทำไม่ได้แน่นอน เพราะจะเกิดความเสียหายกับประชาชนในเรื่องของการเลือกข้าง” นายยงยศกล่าว

นายยงยศเพิ่มเติมว่า การเลือกตั้งทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการเลือกตั้ง และสร้างความขัดแย้งในท้องถิ่น โดยในกรณีที่กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านปฎิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสม ก็มีกฎหมายรองรับให้ประชาชนสามารถรวบรวมรายชื่อ ยื่นถอดถอนกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านได้อยู่แล้ว จึงทำให้การทำหน้าที่ของกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านไม่ได้ผูกขาดอำนาจตามที่ สมาชิก สปท.หลายคนกล่าวอ้าง

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ที่มีข้อเสนอให้แก้ไขประกอบด้วย ให้มีการแก้ที่มาของกำนันจากเดิมที่เป็นการเลือกกันเองโดยผู้ใหญ่บ้านเป็นการเลือกตั้งโดยประชาชน และมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี จากเดิมที่ให้ดำรงตำแหน่งจนถึงอายุ 60 ปี โดยผู้ใหญ่บ้านสามารถดำรงตำแหน่งกำนันในคราวเดียว แต่ให้รับเงินเดือนตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง หากหมดวาระ สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกำนันได้ โดยไม่จำกัดวาระ และให้มีการประเมินผลการปฎิบัติงานผู้ใหญ่บ้านทุก 3 ปี จากเดิมที่มีการประเมินทุก 5 ปี ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว ทำให้มีการเคลื่อนไหวจากกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านในหลายพื้นที่ โดยมีการรวมตัวกันคัดค้านข้อเสนอดังกล่าวที่ที่ว่าการอำเภอในแต่จังหวัด

อย่างไรก็ตาม แม้จะผ่านความเห็นชอบจาก สมาชิก สปท. แต่การแก้ไข พ.ร.บ.ลักษณะปกครองส่วนท้องที่ ยังต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็นของกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และต้องผ่านความเห็นชอบของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อน จึงจะสามารถปรับแก้ไขตามข้อเสนอได้

ต่อประเด็นนี้ นายศักดินันท์ รักษาพล ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชเปิดเผยต่อเบนาร์นิวส์ว่า เห็นด้วยกับการให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านมาจากการเลือกตั้ง เนื่องจากเชื่อว่า การเลือกตั้งจะช่วยกระตุ้นให้ กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านกระตือรือร้นที่จะปฎิบัติหน้าที่มากกว่า และป้องกันการผูกขาดอำนาจ

“การให้ดำรงตำแหน่งถึงอายุ 60 ปี เป็นการผูกขาดตำแหน่ง กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านไม่พัฒนาท้องถิ่น เพราะไม่ต้องไปแข่งขันกับใคร ไม่แยแสฝ่ายตรงข้ามที่เป็นคู่แข่งเมื่อชนะ เพราะคิดว่า ชนะแล้วอยู่ยาวไม่ต้องสน ยิ่งกล้าลงทุนซื้อเสียง เพราะเชื่อว่าคุ้มค่ากับการได้อยู่ในตำแหน่งยาวนานถึงอายุ 60 ปี” นายศักดินันท์กล่าว

“ยกตัวอย่างในพื้นที่บ้านผม ผู้ใหญ่บ้านเลือกปฎิบัติ เอาแต่พวกพ้อง เอื้อประโยชน์กัน ชาวบ้านรอบข้างพากันเอือมระอา อยากเลือกใหม่ใจจะขาด แต่ทำไม่ได้ ต้องอดทนรับกรรมไปอีกหลายปี ถ้าเลือกตั้งจะทำให้เกิดการแข่งขันและสร้างผลงาน เพื่อหวังที่จะให้ได้รับโอกาสในสมัยต่อไปมากกว่า” นายศักดินันท์ระบุ

ปัจจุบัน กรมการปกครองระบุว่า ประเทศไทยมีกำนัน 6,890 คน และผู้ใหญ่บ้าน 68,445 คน

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง

ความคิดเห็น

Anonymous
Oct 01, 2021 05:03 PM

อายุ 60 ปี ครบวาระ นั่งกิน นอนกิน สันหลังยาว ความรู้ไม่มี ใช้เงิน อิทธิพล หาเสียง แทบทุกหมู่บ้าน ในประเทศไทย จะพัฒนาให้ หมู่บ้านเจริญได้ไง ถ้าไม่มีการแข่งขันที่ ผลงาน ถ้าผลงานดี ชาวบ้านก็ให้อยู่ต่อ ถ้าผลงานไม่ดี ชาวบ้านเขาก็มีสิทธิเลือกใหม่

มหาเทพ
Jul 12, 2023 04:51 AM

5 ปีตรงใหน นี้ปี2566 ยังดำรงค์ตำแหน่ง 60 ปีเหมือนเดิมแม่งออกข่าวมั่ว

สุมืตร
Feb 21, 2024 11:21 AM

ทำไมไม่รับวุฒิ ปริญาขึ้นไป ความคิดและเรื่องที่ทันยุค กับปัจจุบัน แถวบ้านมีแต่คนเคยติดยา คนเมา และคนไม่มีคว่มน
รู้ความเข้าใจมาทำงาน ตอนนี้ ทำอะไรไม่ได้เพราะพวกพี่น้องของเขามากกว่าควรพิจารณาวุฒิด้วยนะครับ

สุมิตร
Feb 21, 2024 11:22 AM

ควรรับวุฒิปริญาตรีขั้นต่ำ ระบบชั้นปัญญาชนแยกแยะได้

สมนึก
Feb 21, 2024 11:23 AM

ควรรับปริญาตรี

damag
Mar 15, 2024 04:00 AM

ผมเห็นด้วยกับการดำรงตำแหน่งคราวละ 5ปี ครับ เพราะเราจะได้เห็นผู้นำ แต่ละหมู่บ้านที่ชาวบ้านได้เลือกเข้าไปนั้น ได้ทำอะไรให้กับหมู่บ้านบ้าน มีการพัฒนาไปในทิศทางไหนบ้าน งบประมาณที่ขอไปเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน ปะปาหมู่บ้าน เงินกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น มีการตรวจสอบว่าขั้นตอนการทำงานมีความโปร่งใสหรือเปล่า และต้องตรวจสอบได้อย่างละเอียด ในวาระ การทำหน้าที่ของ กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ผมว่าดีนะคราวละ 5 ปี (ทำดีมีการพัฒนาได้อยู่ต่อ) มีตัวอย่างของหลายหมู่บ้าน ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้เลย จนครบอายุ 60 ปี เงินหมู่บ้านไปไหน กองทุนปะปา ตรวจสอบไม่ได้ไม่มีสรุปประจำเดือน ประจำปี แต่เก็บทุกเดือน เป็นต้นครับ

damag
Mar 15, 2024 04:03 AM

ผมเห็นด้วยกับการดำรงตำแหน่งคราวละ 5ปี ครับ เพราะเราจะได้เห็นผู้นำ แต่ละหมู่บ้านที่ชาวบ้านได้เลือกเข้าไปนั้น ได้ทำอะไรให้กับหมู่บ้านบ้าน มีการพัฒนาไปในทิศทางไหนบ้าน งบประมาณที่ขอไปเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน ปะปาหมู่บ้าน เงินกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น มีการตรวจสอบว่าขั้นตอนการทำงานมีความโปร่งใสหรือเปล่า และต้องตรวจสอบได้อย่างละเอียด ในวาระ การทำหน้าที่ของ กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ผมว่าดีนะคราวละ 5 ปี (ทำดีมีการพัฒนาได้อยู่ต่อ) มีตัวอย่างของหลายหมู่บ้าน ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้เลย จนครบอายุ 60 ปี เงินหมู่บ้านไปไหน กองทุนปะปา ตรวจสอบไม่ได้ไม่มีสรุปประจำเดือน ประจำปี แต่เก็บทุกเดือน เป็นต้นครับ

damag
Mar 15, 2024 04:06 AM

ผมเห็นด้วยกับการดำรงตำแหน่งคราวละ 5ปี ครับ เพราะเราจะได้เห็นผู้นำ แต่ละหมู่บ้านที่ชาวบ้านได้เลือกเข้าไปนั้น ได้ทำอะไรให้กับหมู่บ้านบ้าน มีการพัฒนาไปในทิศทางไหนบ้าน งบประมาณที่ขอไปเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน ปะปาหมู่บ้าน เงินกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น มีการตรวจสอบว่าขั้นตอนการทำงานมีความโปร่งใสหรือเปล่า และต้องตรวจสอบได้อย่างละเอียด ในวาระ การทำหน้าที่ของ กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ผมว่าดีนะคราวละ 5 ปี (ทำดีมีการพัฒนาได้อยู่ต่อ) มีตัวอย่างของหลายหมู่บ้าน ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้เลย จนครบอายุ 60 ปี เงินหมู่บ้านไปไหน กองทุนปะปา ตรวจสอบไม่ได้ไม่มีสรุปประจำเดือน ประจำปี แต่เก็บทุกเดือน เป็นต้นครับ

damag
Mar 15, 2024 04:07 AM

ผมเห็นด้วยกับการดำรงตำแหน่งคราวละ 5ปี ครับ เพราะเราจะได้เห็นผู้นำ แต่ละหมู่บ้านที่ชาวบ้านได้เลือกเข้าไปนั้น ได้ทำอะไรให้กับหมู่บ้านบ้าน มีการพัฒนาไปในทิศทางไหนบ้าน งบประมาณที่ขอไปเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน ปะปาหมู่บ้าน เงินกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น มีการตรวจสอบว่าขั้นตอนการทำงานมีความโปร่งใสหรือเปล่า และต้องตรวจสอบได้อย่างละเอียด ในวาระ การทำหน้าที่ของ กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ผมว่าดีนะคราวละ 5 ปี (ทำดีมีการพัฒนาได้อยู่ต่อ) มีตัวอย่างของหลายหมู่บ้าน ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้เลย จนครบอายุ 60 ปี เงินหมู่บ้านไปไหน กองทุนปะปา ตรวจสอบไม่ได้ไม่มีสรุปประจำเดือน ประจำปี แต่เก็บทุกเดือน เป็นต้นครับ