ประเทศไทย: 5 ผู้ต้องสงสัย ในเหตุวางระเบิด ที่จังหวัดยะลา

โดย ทีมข่าวเบนาร์นิวส์
2015.06.22
TH-terrorism-620 เจ้าหน้าที่ดับเพลิง กำลังช่วยกันฉีดน้ำ ที่เกิดเหตุไฟไหม้ จากเหตุลอบวางระเบิด ในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เมื่อ 25 กรกฏาคม 2557
เอเอฟพี

เมื่อวันจันทร์ที่ 22 มิย. 2558 ศาลจังหวัดยะลา ภาคใต้ของประเทศไทย ได้รับคำฟ้อง สำหรับผู้ต้องสงสัยทั้งห้า หลังเจ้าหน้าที่สืบพบว่าเกี่ยวข้องกับคดีลอบวางระเบิด ที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 18 คน เมื่อเดือนที่แล้ว ในจังหวัดยะลา

เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับคำให้การยอมรับสารภาพของ นายไซดี ส่งดำเนินคดี ฟ้องร้องต่อศาล เพื่อพิจารณาลงโทษตามกฎหมายต่อไป ที่ศาลยะลา สำหรับผู้ต้องสงสัยในคดีนี้มีทั้งหมด 5 ราย ประกอบด้วย 1. นายอับดุลฟาริด สะกอ 2. นายไซดี ทากือแน 3. นายซอบรี กาซอ 4. นายแยสฟรี หะยีปูต๊ะ 5. นายสุกกรี นิเลาะ

ด้าน พ.ท.อิศรา จันทะกระยอม ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่41กล่าวว่า นายไซดี ทากือแน เจ้าหน้าที่จับที่ อำเภอกาบัง จ.ยะลา หลังสืบพบ ความเกี่ยงข้องคดีลอบวางระเบิด 50 จุดในเมืองยะลา เมื่อ 14-16 พ.ค.58 และ ยังพบความเกี่ยวโยงกับกรณีเหตุการณ์เมื่อวันที่ 31 มี.ค.58 ปล้นรถยนต์กระบะ ยี่ห้อ ฟอร์ด สีเขียว ทะเบียน บท 2614 ปัตตานี ในพื้นที่ อ.ยะหา จ.ยะลา  และรถดังกล่าวได้เกิดเหตุระเบิดเมื่อวันที่ 10 เม.ย.58 บริเวณชั้นใต้ดิน ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี

“ตอนนี้ ส่งฟ้องทั้งหมด 5 คน คือ 1. นายอับดุลฟาริด สะกอ 2  นายไซดี ทากือแน 3. นายซอบรี กาซอ 4. นายแยสฟรี หะยีปูต๊ะ 5.นายสุกกรี นิเลาะ ร่วมก่อเหตุลอบวางระเบิด เมืองยะลา เมื่อ 14-16 พ.ค. 2558”

หลังจากการลอบวางระเบิด ที่เกาะสมุย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คดีระเบิดที่เกาะสมุยนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ก่อเหตุร้าย ในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ได้ดำเนินการวางระเบิด ยะลาเป็นส่วนหนึ่งของภาคใต้ ที่กลุ่มก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดนได้คร่าชีวิตมากกว่า 6,000 รายแล้ว นับตั้งแต่ปี 2547

ล้วนเป็นเรื่องภายในประเทศ

แม้จะมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า ผู้ก่อความไม่สงบชาวมุสลิมจากภาคใต้ ได้เข้าร่วมกับกลุ่มรัฐอิสลาม (IS) หรือเครือข่ายผู้ก่อการร้ายข้ามชาติอื่นๆ รัฐบาลสหรัฐอเมริกากล่าวใน "รายงานการก่อการร้ายรายประเทศปี 2557” ที่เผยแพร่เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มิย.

"ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของไทย ได้แสดงความวิตกมาช้านานแล้วว่า กลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ สามารถจะสร้างความเชื่อมโยง กับกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ในภาคใต้ของไทย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการระบุชัดเจน ว่ากลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการก่อเหตุรุนแรง ในภาคใต้ และยังไม่มีหลักฐานการเชื่อมโยงของการดำเนินการร่วมกัน ระหว่างกลุ่มก่อความไม่สงบ ในภาคใต้ของไทย และเครือข่ายก่อการร้ายในภูมิภาค" รายงานดังกล่าวระบุ

นายปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงกลาโหมกล่าวว่า รายงานมีการประเมินผลในเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของไทยในการต่อต้านการก่อการร้าย

“คิดว่าเป็นความคิดเห็น หรือการประเมินการทำงานที่เขาเองบอกว่า การทำงานด้านการต่อต้านการก่อการร้ายเป็นไปในทางที่ดีขึ้น”  นาย ปณิธานกล่าวแก่ เบนาร์นิวส์

“เราได้ใช้การแก้ปัญหาเชิงสมานฉันท์  กอ.รมน. ได้ร่วมมือกับเอ็นจีโอและเอกชน”

“ปัจจุบันการใช้ระบบยุติธรรมในการแก้ไขปัญหานั้นดีขึ้นมาก แต่ยังมีบางอย่างต้องปรับปรุง ยังไม่ดีถึงระดับที่เราต้องการ”

“การโยกย้ายข้าราชการไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหา ในขณะที่มีการจับตัวนายฮัมบาลี ขณะนั้นก็อยู่ในช่วงโยกย้ายข้าราชการ ในภาคใต้ก็มีการโยกย้ายข้าราชการ สหรัฐอาจจะเป็นห่วงที่เมื่อมีการโยกย้ายข้าราชการแล้ว การทำงานจะไม่ต่อเนื่อง แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ เช่น กรณีโรฮิงญาการโยกย้ายข้าราชการ น่าจะเป็นผลดีมากกว่าด้วยซ้ำ”

"หลังจากรัฐประหาร เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ยังคงจัดโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ความช่วยเหลือกลุ่มมุสลิมมาเลย์ในภาคใต้ เพื่อต่อต้านแพร่ขยายของลัทธิสุดโต่ง และความคลั่งไคล้การใช้ความรุนแรงของกลุ่มก่อการร้าย  ข้อบกพร่องอย่างต่อเนื่องของระบบยุติธรรมเหล่านั้นถือเป็นการสนับสนุนการก่อความไม่สงบ การแบ่งแยกดินแดน เชื้อชาติ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย" รายงานระบุข้อสังเกตุ

การตอบรับต่อคำกล่าวนี้ นายปณิธานยอมรับว่า นี่คือพื้นที่สำหรับการปรับปรุง แต่เขาอ้างถึงกรณีล่าสุดจากจังหวัดแดนใต้ ว่าผู้ต้องสงสัยสองรายถูกปล่อยตัว เป็นตัวอย่างของการป้องกันผู้กระทำผิด ที่ได้รับการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม

"ในวันที่ระบบยุติธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา ดีขึ้นในทางปฏิบัติ"  นาย ปณิธานกล่าวว่า เป็นที่ยอมรับ แต่เสริมว่ามันน่าจะดีกว่านี้

"ในขณะที่ ภาพรวมดูดี แต่ยังไม่อยู่ในระดับที่เรากำลังมองหา" ปณิธานกล่าวว่า

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง