ไทยอาจล้มเลิกซื้อเรือดำน้ำจีน เพราะขาดเครื่องยนต์

ทีมงานเบนาร์นิวส์
2022.04.07
ไทยอาจล้มเลิกซื้อเรือดำน้ำจีน เพราะขาดเครื่องยนต์ เรือดำน้ำของกองทัพเรือจีนออกจากท่าเรือชิงเต่า มณฑลซานตง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2552
รอยเตอร์

การซื้อเรือดำน้ำจีน 3 ลำของไทยที่วางแผนมายาวนาน ซึ่งอดีตนักการทูตไทยระดับสูงของไทย มองว่าเป็นการหมิ่นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ตามสนธิสัญญา และอาจเผชิญปัญหามากขึ้นไปอีก เจ้าหน้าที่และนักวิเคราะห์กล่าว

ในเดือนเมษายน 2560 รัฐบาลไทยอนุมัติแผนของกองทัพเรือในการซื้อเรือดำน้ำ S26T ชั้นหยวนจำนวน 3 ลำจากประเทศจีน มูลค่ารวม 36 พันล้านบาท (1.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) อย่างไรก็ตามเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ มีการอนุมัติการซื้อเรือดำน้ำเพียงลำเดียวมูลค่า 13.5 พันล้านบาทนั้น (403 ล้านเหรียญสหรัฐ) ได้เพียงลำเดียว ส่วนอีก 2 ลำถูกระงับไว้

ด้านบริษัท ไชน่า ชิปบิวดิ้ง แอนด์ ออฟชอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้พัฒนาเรือดำน้ำของรัฐบาลจีน เปิดเผยว่าไม่สามารถจัดหาเครื่องยนต์ดีเซล MTU396 จากเยอรมนี เพื่อนำมาประกอบใช้กับเรือดำน้ำได้ เนื่องจากการคว่ำบาตรการจัดส่งอาวุธของสหภาพยุโรป ที่บังคับใช้กับจีน และเครื่องยนต์เหล่านี้ผลิตโดย สหภาพมอเตอร์และกังหันของประเทศเยอรมนี (Motor and Turbine Union - MTU)

“การส่งออก [เครื่องยนต์] นี้ได้รับการปฏิเสธ เพราะจะถูกนำไปใช้ในการทหาร-กองทัพของประเทศจีน” นาย ฟิลลิป เดิร์ธ ทูตทหารของเยอรมนีประจำประเทศไทย กล่าวกับบางกอกโพสต์ “จีนไม่ได้ขอ/ประสานงานกับเยอรมนีก่อนลงนามในสัญญาไทย-จีน ที่เสนอเครื่องยนต์ MTU ของเยอรมนี เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์

ที่ผ่านมาสหภาพยุโรปมีคำสั่งห้ามส่งออกอาวุธไปยังประเทศจีนตั้งแต่ปี 2532 หลังจากมีเหตุการณ์รุนแรงต่อการประท้วงเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง

ความสัมพันธ์ไทยจีน ไม่ได้รับผลกระทบ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวไว้เมื่อต้นสัปดาห์ว่า ประเทศจีนไม่สามารถทำตามสัญญาที่ตกลงไว้ได้ เป็นเหตุให้ข้อตกลงเรือดำน้ำต้องถูกยกเลิก

“เราจะทำอย่างไรกับเรือดำน้ำที่ไม่มีเครื่องยนต์ ทำไมเราถึงยังควรซื้ออีก ถ้าข้อตกลงนี้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ เราก็ต้องหาวิธีจัดการ นี่เป็นวิธีที่เราควรแก้ปัญหาไม่ใช่หรือ” พลเอก ประยุทธ์ กล่าว

ก่อนหน้านี้ โฆษกของกองทัพเรือ พลเรือโท ปกครอง มนธาตุผลิน ระบุว่า จะมีการประชุมภายในกองทัพกลางเดือนเมษายนกับบริษัท ไชน่า ชิปบิวดิ้ง แอนด์ ออฟชอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (China Shipbuilding & Offshore International - CSOC) เพื่อพูดคุยถึงปัญหาเรื่องเครื่องยนต์

โดยบริษัท ไชน่า ชิปบิวดิ้ง แอนด์ ออฟชอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้เสนอให้ใช้เครื่องยนต์รุ่นอื่น แต่รัฐบาลไทยได้ปฏิเสธข้อเสนอนี้ เพราะได้วางมัดจำไปแล้วกว่า 700 ล้านบาท หรือประมาณ 20.9 ล้านดอลลาร์ในปี 2560 โดยคาดว่าการส่งมอบเรือดำน้ำจะมีขึ้นในปี 2567

นายกรัฐมนตรียังเปิดเผยอีกว่า การยกเลิกคำสั่งซื้อดังกล่าวจะไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ของประเทศไทยและประเทศจีน เนื่องจากทั้งสองประเทศกำลังช่วยกันแก้ไขปัญหา เพราะหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยให้ความสำคัญกับประเทศจีนอย่างมากและได้สั่งซื้ออาวุธจากจีน อย่างเช่นรถถัง และเรือรบ

ความไว้วางใจคือปัญหาใหญ่

เอียน สตอรีย์ เจ้าหน้าที่อาวุโสของสถาบันยูโซฟ อิชัก (ISEAS-Yusof Ishak) ในสิงคโปร์ กล่าวว่าความสัมพันธ์ทางทหารของไทยที่มีมากขึ้นต่อจีนจะทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดความไม่ไว้วางใจได้ ประเทศไทยและสหรัฐเป็นพันธมิตรต่อกัน สหรัฐแต่งตั้งให้ไทยเป็นประเทศพันธมิตร แม้ไม่ได้เป็นสมาชิกนาโต

“การที่ประเทศไทยสั่งซื้อเรือดำน้ำจากจีนเป็นการดูถูกความสัมพันธ์และพันธมิตรระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐ” เขากล่าวเพิ่มเติม “ควรมีการปรับความเข้าใจระหว่างกันในประเด็นนี้” เอียน ระบุ

เมื่อต้นปีนี้ กองทัพอากาศไทยแสดงความสนใจที่จะซื้อเครื่องบินขับไล่ล่องหน F-35 จำนวนหนึ่งจากสหรัฐฯ

“สหรัฐฯ จะไม่เต็มใจที่จะขายเครื่องบินล้ำสมัยของตนให้กับไทย เนื่องจากกองทัพไทยมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับคู่แข่งชาวจีน” เอียน กล่าวเพิ่มเติม

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกามีขึ้นลง เนื่องจากการปรับเปลี่ยนทางการเมืองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ต่อประเด็นดังกล่าว นายกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า สถานประกอบการทหารของไทยไม่ชอบการวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของตนในการเมืองไทยโดยพันธมิตรสหรัฐฯ และชาติตะวันตก ในขณะที่จีนเลี่ยงการตัดสินทางการเมืองและเสนอเครื่องมือทางทหารในราคามิตรภาพ”

“ผลที่ตามมาคือประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาล้มเหลวในการพูดคุยแบบตัวต่อตัวในฐานะพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” นายกษิต ระบุ

ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีการอ้างสิทธิ์ที่แข่งขันกันในทะเลจีนใต้ กำลังเข้าร่วมการซื้อเรือดำน้ำเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านความปลอดภัยรูปแบบใหม่

ที่ผ่านมาเวียดนามได้ซื้อเรือดำน้ำชั้นกิโลจำนวน 6 ลำจากรัสเซีย ขณะที่ทั้งอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์กำลังหารือกันเรื่องการซื้อเรือดำน้ำจากฝรั่งเศส สิงคโปร์และมาเลเซียมีเครื่องบินย่อยสี่และสองลำตามลำดับ

ขณะที่จีนเองก็มีกองเรือดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยมีจำนวนประมาณ 76 ลำ สถาบันทหารเรือสหรัฐอเมริกา (U.S. Naval Institute) กล่าวว่า ชั้นหยวน เป็นคลาสของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานในน่านน้ำชายฝั่งน้ำตื้น 

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง