เลือกตั้ง 2566 : ส่องโฉมหน้า 5 ผู้เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นนทรัฐ ไผ่เจริญ และคุณวุฒิ บุญฤกษ์
2023.04.04
กรุงเทพฯ และเชียงใหม่
เลือกตั้ง 2566 : ส่องโฉมหน้า 5 ผู้เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้สนับสนุนพรรคการเมืองพรรคต่าง รวมตัวที่สนามกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เพื่อให้กำลังพรรคขวัญใจของตนในการลงสมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต วันที่ 3 เมษายน 2566
อาทิตย์ พีระวงศ์เมธา/รอยเตอร์

ผู้แข่งขันสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งตั้งแต่วันจันทร์สัปดาห์นี้ ก่อนหน้าการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม นี้ ซึ่งผู้สันทัดกรณีเชื่อว่าผลการเลือกตั้งมีแนวโน้มที่จะลงเอยไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลผสม

นับเป็นเวลาเกือบสิบปีแล้วที่ทหารฉายคราบเงาการปกครองในประเทศไทย โดยการบริหารประเทศห้าปีแรกภายใต้การนำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และถัดมาอีกสี่ปีภายใต้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของ พล.. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับทหาร

แม้ว่าในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้จะมีการประท้วงผู้มีอำนาจโดยนักเคลื่อนไหวรุ่นเยาวชนและนักศึกษาก็ตาม นักวิเคราะห์ยังทายทักว่า ทหารยังคงเกาะอำนาจได้อยู่ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะรัฐธรรมนูญ พ.. 2560 เปิดโอกาสให้ ส.ส. และ ส.ว. มีอำนาจร่วมโหวตรับรองนายกรัฐมนตรี

ในวันจันทร์นี้ บรรดาบิ๊กเนมทั้งหลายได้ยกขบวนรถแห่แหนที่เต็มไปด้วยสีสันไปตามท้องถนน นำลูกพรรคไปลงทะเบียนสมัครรับเลือกตั้งทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด ท่ามกลางผู้สนับสนุนของพรรคต่าง ๆ ที่ถือป้ายสัญลักษณ์ของพรรคสนับสนุนและส่งเสียงเชียร์

นักการเมืองสำคัญ 5 คน ดังต่อไปนี้ มีแนวโน้มจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง

 230404-th-election-candidates-1.jpg

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (สะพายกระเป๋าสีขาว) และ นายเศรษฐา ทวีสิน (คนกลาง) แกนนำพรรคเพื่อไทย ผู้เป็นหนึ่งในแคนดิเดตชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในนามพรรค เดินหาเสียงที่ย่านเยาวราชช่วงวันตรุษจีน วันที่ 21 มกราคม 2566 (สุรินทร์ พิณสุวรรณ/เบนาร์นิวส์)

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย

ในวัย 36 ปี นางสาวแพทองธาร หรือ “อุ๊งอิ๊งที่ปรึกษาทางยุทธศาสตร์และผู้ที่คาดว่าจะได้รับการเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในนามพรรคเพื่อไทย ถูกมองว่าจะเป็นหัวหอกในการนำประเทศไทยกลับมาสู่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงปราศจากคราบเงาของทหาร

อุ๊งอิ๊งขณะกำลังตั้งท้องแปดเดือน ลูกสาวคนสุดท้องของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร เกิดเมื่อ 21 สิงหาคม 2529 ในเส้นทางการเมืองของตระกูล ได้ถูกยึดอำนาจสองครั้งโดยบิดาของเธอถูกรัฐประหารในปี 2549 ส่วนอาหญิง คือนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประสบชะตากรรมเดียวกันในปี 2557 และหลบหนีออกนอกประเทศทั้งคู่

นางสาวแพทองธาร หมายที่จะสร้างความรุ่งโรจน์ให้กับพรรคเพื่อไทย ให้เหมือนดังพรรคไทยรักไทย พรรคในอดีตของนายทักษิณ ที่มีอิทธิพลต่อการเมืองไทยมาตั้งแต่ปี 2544 ทั้งนี้ศาลรัฐรรมนูญสั่งยุบพรรคไทยรักไทยในปี 2550 จากนั้น ส.ส. ที่เหลือได้ก่อตั้งพรรคพลังประชาชนขึ้นมา แต่แล้วก็ถูกยุบพรรคอีกครั้งในปี 2551 และในท้ายที่สุด ได้ก่อตั้งพรรคเพื่อไทย ซึ่งดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมาจนถึงปัจจุบัน

ในผลการสำรวจคะแนนของโพลสำนักต่าง ๆ พรรคเพื่อไทยมีโอกาสที่จะได้ ส.. มากกว่ากึ่งหนึ่งของที่นั่งทั้งหมด 500 ที่นั่ง หากพรรคเพื่อไทยชนะแลนด์สไลด์ได้จริง ก็จะสามารถนำไปคัดง้างกับ ส.. 250 คน ที่จะร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้

พรรคเพื่อไทย หาเสียงด้วยคำมั่นในการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำและลดค่าครองชีพให้กับประชาชน

 230404-th-election-candidates-2.jpg

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับดอกไม้จากประชาชนที่ไปให้กำลังใจ ขณะที่ พล.อ. ประยุทธ์ ลงพื้นที่ในจังหวัดสมุทรสงคราม วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 (สุรินทร์ พิณสุวรรณ/เบนาร์นิวส์)

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรครวมไทยสร้างชาติ

พล.. ประยุทธ์ จันทร์โอชา วัย 69 ปี กล่าวว่า ตนมีความเป็นห่วงเป็นใยประชาชน จึงได้ตัดสินใจเล่นการเมืองต่อไปอีกสมัย แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้เป็นนายกฯ ได้ถึงวันที่ 5 เมษายน 2568 เท่านั้น และมีเวลาอีกเพียง 2 ปี

พล.. ประยุทธ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2497 เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเข้มข้น เป็นผู้นำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐประหารรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใน ปี 2557

พล.. ประยุทธ์ ประกาศที่จะปกป้องสถาบัน เป็นที่รักของกลุ่มอนุรักษ์นิยม และนักวิเคราะห์มองว่า พล.. ประยุทธ์ ยังคงเล่นการเมืองต่อไปเพื่อปกป้องสถาบันจากการท้าทายของกลุ่มผู้ประท้วงที่มีเยาวชนรุ่นใหม่เป็นแกนนำ

ผู้รักสถาบันเชื่อว่านายทักษิณและพรรคเพื่อไทยเองยังเป็นกลุ่มที่ท้าทายสถาบัน แม้ว่าจะไม่ได้แสดงออกมาโดยชัดเจนก็ตาม ผู้รักสถาบันให้การสนับสนุน พล.. ประยุทธ์ ผ่านทางการแสดงความเห็นทางโซเชียลมีเดีย หรือออกมาตอบโต้กับกลุ่มไม่เอาเจ้าอยู่เสมอ

ด้วยคติพจน์ที่ว่า “ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อพล.. ประยุทธ์ หวังว่าจะได้สานต่อความสำเร็จที่ตนได้สร้างไว้แล้วในช่วงที่ผ่านมา และแม้ว่าจะถูกตำหนิในเรื่องผลงานด้านเศรษฐกิจ และการลิดรอนสิทธิในการแสดงออก พล.. ประยุทธ์ ก็ได้รับคะแนนนิยมในเรื่องการมอบสวัสดิการให้กับคนยากจนและผู้สูงอายุ

 230404-th-election-candidates-3.jpg

ผู้สนับสนุนพรรคพลังประชารัฐต้อนรับ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ขณะที่ไปหาเสียงที่จังหวัดปทุมธานี วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 (นาวา สังข์ทอง/เบนาร์นิวส์)

พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ

พล.. ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่ของ 3ป เปลี่ยนท่าทีอย่างฉับพลันในการเลือกตั้งครั้งใหม่นี้ โดยเน้นความสามัคคีของผู้เห็นต่างทางการเมือง และพร้อมที่จะร่วมรัฐบาลกับพรรคใด ๆ ทั้งฝ่ายประชาธิปไตยและพรรคฝ่ายที่มีทหารหนุนหลังก็ได้

พล.. ประวิตร ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่าย ก้าวข้ามความขัดแย้งจากการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่มีในอดีต ทั้งนี้ พล.. ประวิตร, พล.. อนุพงศ์ (เผ่าจินดา) และ พล.. ประยุทธ์ อดีต ผบ.ทบ. ทั้งสามคนเป็นผู้กุมอำนาจสำคัญในการรัฐประหารในอดีต และควบคุมการเมืองไทย

เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2488 พล.. ประวิตร เป็นผู้ที่มีความประนีประนอมมากที่สุดในบรรดาสมาชิก 3ป ที่พร้อมจะร่วมทำงานกับพรรคการเมืองอื่น ๆ และนักวิเคราะห์เห็นว่า แม้ว่า พล.. ประวิตร จะมีคะแนนรั้งท้ายในโพลสำนักต่าง ๆ แต่พรรคพลังประชารัฐยังมีโอกาสได้คะแนนเสียงมากพอประมาณ และด้วยการสนับสนุนของ ส.. ที่ผ่านการคัดกรองของทหาร 250 คน ทำให้เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่ พล.. ประวิตร จะได้รั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

 230404-th-election-candidates-4.jpg

นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ปราศรัยหาเสียงในกรุงเทพฯ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 (นาวา สังข์ทอง/เบนาร์นิวส์)

นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย

ด้วยนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนบางกลุ่ม นักวิเคราะห์มองว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะเป็นตัวแปรที่สำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลผสม หรือแม้แต่เป็นม้ามืดในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยในก่อนหน้านี้มี ส.. พรรคอื่นย้ายมาซบอกภูมิใจไทยอย่างน้อย 43 คน

นายอนุทิน มีความสนิทแนบแน่นกับ พล.. ประวิตร และแม้ว่าทั้งสองพร้อมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไรก็ตาม เชื่อว่าทั้งสองจะยังคงมีความใกล้ชิดกันไม่เปลี่ยนแปลง

นายอนุทิน เกิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2509 ในครอบครัวเศรษฐีเจ้าของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างแนวหน้าของประเทศไทย ส่วนในทางการเมืองนายอนุทินคุยได้ว่า พรรคของตนเป็นพรรคที่ “พูดแล้วทำไม่ขายฝัน ทำได้จริง จนได้รับความนิยมจากชนชั้นรากหญ้า

 230404-th-election-candidates-5.jpg

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ทักทายกับผู้สนับสนุนระหว่างที่นำลูกพรรคไปลงสมัคร ส.ส. ที่สนามกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) วันที่ 3 เมษายน 2566 (สุรินทร์ พิณสุวรรณ/เบนาร์นิวส์)

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล

นายพิธา ได้รับความนิยมอย่างสูงในกลุ่มคนเยาวชนที่ประท้วงรัฐบาล พล.. ประยุทธ์ ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563

พรรคก้าวไกล เป็นเพียงพรรคการเมืองพรรคเดียวที่เรียกร้องให้แก้ กฎหมายอาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี ซึ่งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นมา รัฐบาล พล.. ประยุทธ์ ได้บังคับใช้อย่างเข้มข้นในการจัดการปราบปรามผู้ประท้วง

นักวิเคราะห์เชื่อว่าพรรคก้าวไกล ที่เป็นพรรคแนวหัวก้าวหน้า จะแบ่งคะแนนเสียงกับพรรคเพื่อไทย และจะร่วมมือกันในความพยายามจัดตั้งรัฐบาล

นายพิธา ในวัย 42 ปี มีคะแนนนิยมสำหรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนำหน้า พล.. ประยุทธ์ จากการสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามทั่วประเทศของโพลจากหลายสำนัก แต่ยังตามหลัง นางสาวแพทองธาร อยู่หลายสิบเปอร์เซ็นต์

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง