ชุมชนกะเหรี่ยงต่อสู้โครงการเขื่อนด้วยงานวิจัยรากหญ้า

รายงานพิเศษ โดย เรดิโอฟรีเอเชีย
2023.06.28
ชุมชนกะเหรี่ยงต่อสู้โครงการเขื่อนด้วยงานวิจัยรากหญ้า สิงคาร เรือนหอม อธิบายระหว่างพาทัวร์แม่น้ำยวม ในประเทศไทย ว่าเขื่อนจะเปลี่ยนตะกอนในแม่น้ำอย่างไร ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ที่นั่น วันที่ 12 มีนาคม 2566
เรดิโอฟรีเอเชีย

นับเป็นเวลาหนึ่งปีเต็มแล้วที่ สิงคาร เรือนหอม กับมิตรสหาย 14 คน ร่วมกันทำข้อมูลเพื่อชี้ให้เห็นความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการเกษตรและประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณริมแม่น้ำยวม

พวกเขาได้ดำเนินการวิจัย "การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกลุ่มประชาชน" เพื่อโต้แย้งผลการศึกษาในปี 2564 ของกรมชลประทานและมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งรายงานว่า มีเพียงสี่ครัวเรือนในหมู่บ้านแม่น้ำเงาจะได้รับผลกระทบจากโครงการผันน้ำยวม ซึ่งในบริเวณดังกล่าวมีประชากรกว่า 170 คนอาศัยอยู่

ชาวบ้านท้องถิ่นระบุว่า ความเสียหายที่เกิดจากเขื่อน ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า โครงการผันแม่น้ำยวม จะส่งผลกระทบอย่างมาก เพราะจะมีการใช้พื้นที่อย่างน้อย 6 ล้านตารางเมตร หรือราว 3,750 ไร่ และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนราว 40,000 คน ใน 46 หมู่บ้าน

"ผมคิดถึงสิ่งมีชีวิตในน้ำ ทั้งพืชและสัตว์ ที่จะสูญพันธุ์ไป" หากโครงการนี้สำเร็จ สิงคารกล่าว หลังจากลงเบ็ดตกปลาในแม่น้ำ พร้อมกับถ่ายภาพและบันทึกการจับปลาเป็นภาษาไทยและภาษากะเหรี่ยง

นั่นคือสิ่งที่เราเอากลับคืนมาไม่ได้

ในอดีต การวิจัยในระดับรากหญ้าเช่นนี้ ได้ส่งผลให้ชุมชนทั้งในประเทศไทยและเมียนมา ชนะโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งสุดท้ายได้ถูกยกเลิกไป โดยโครงการเหล่านั้นมักจะมองข้ามการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หรือไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน

ในปี 2562 ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยได้จัดเวทีเสวนาและการประท้วง ควบคู่ไปกับการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประสบความสำเร็จในการขัดขวางบริษัทไม่ให้ย้ายอุปกรณ์การทำเหมืองไปยังแหล่งขุดเจาะโพแทชแห่งใหม่ แม้ว่าจะมีการฟ้องร้องขัดขวางจากบริษัทก็ตาม

230628-th-peoples-environment2.jpeg
ชายผู้หนึ่งยืนอยู่บริเวณจุดบรรจบของแม่น้ำยวมและแม่น้ำเงา ทางเหนือของไทย วันที่ 13 มีนาคม 2566 (เรดิโอฟรีเอเชีย)

อีกหนึ่งตัวอย่างคือเขื่อนฮัตจีที่จะถูกสร้างอยู่ในเขตความขัดแย้งรัฐกะเหรี่ยง เขื่อนนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ก่อนโครงการนี้จะถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากทั้งความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นและการรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นในระดับชุมชนรากหญ้า แม้ว่ารัฐบาลทหารเมียนมาได้พยายามจะฟื้นฟูโครงการนี้ขึ้นมาอีก ภายหลังการรัฐประหารในปี 2564 ก็ตาม

ซอว์ ทา โพ ซึ่งทำงานกับกลุ่มปกป้องแม่น้ำกะเหรี่ยง (Karen Rivers Watch) เล่าว่า ชุมชนข้ามพรมแดนจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อแสดงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อพื้นที่ท้ายน้ำ และเพื่อติดตามพันธุ์ปลา

ชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากตามแม่น้ำทั้งฝั่งไทยและฝั่งเมียนมา มีความสัมพันธ์อันดีและร่วมมือกันทำวิจัย โดยเฉพาะการสำรวจเรื่องเกี่ยวกับพันธุ์ปลาซอว์ ทา โพ กล่าว พร้อมเสริมว่า มีบางสายพันธุ์ที่กำลังใกล้สูญพันธุ์

งานวิจัยรากหญ้า

กลุ่มอาสาสมัครนักวิชาการ ผศ.ดร. มาลี สิทธิเกรียงไกร และ ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ ได้อบรมวิธีการวิจัยที่พวกเขาสามารถใช้ควบคู่ไปกับกิจวัตรประจำวัน เพื่อบันทึกว่าแม่น้ำที่กำลังจะได้รับผลกระทบจากเขื่อนนั้น จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตอย่างไร

ชยันต์ ได้ปรับปรุงการวิจัยนี้ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 90 และตั้งแต่นั้นมาก็กลายเป็นที่นิยมทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และชยันต์ระบุว่า งานวิจัยนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับชาวกะเหรี่ยงในการเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มชาติพันธุ์

ราว 80% ของชาวแม่เงาเป็นชาวกะเหรี่ยง ซึ่งหลายครอบครัวอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 60 ปี และไม่นานมานี้มีบางส่วนที่ข้ามพรมแดนมาจากเมียนมา ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวทำสงครามกับทหารเมียนมามานานหลายทศวรรษ

แต่ถึงแม้จะอาศัยอยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน แต่สิงคารได้ระบุว่า ชาวกะเหรี่ยงกว่าครึ่งในหมู่บ้านยังคงอยู่ในกระบวนการยื่นขอบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 20 ปี

และผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับค่าทดแทนเต็มจำนวนสำหรับที่ดินหรือการดำรงชีวิตของตน นอกจากนี้ที่ดินใด ๆ ที่ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติแม่เงาที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ อาจหมายถึงการต่อสู้ทางกฎหมายที่ยาวนาน หรือไม่มีการชดเชยใด ๆ เลย

คนที่มีบัตรสี จะไม่สามารถเดินทางออกจากอำเภอได้ แล้วถ้าบ้านของพวกเขาถูกน้ำท่วมล่ะ พวกเขาจะอาศัยอยู่ที่ไหน?” สิงคารถาม โดยบัตรสีหมายถึงบัตรสีชมพูหรือสีขาว ซึ่งแรงงานข้ามชาติที่ถือบัตรนี้ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย หรือใช้เป็นหลักฐานว่า ยังอยู่ในขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติ แต่ไม่สามารถเดินทางได้อย่างอิสระ

230628-th-peoples-environment3.jpeg

ชาวบ้านเดินขบวนจากสะพานแม่เงา ไปยังจุดที่แม่น้ำยวมและแม่น้ำเงาไหลมาบรรจบกัน เนื่องในวันสากลต่อต้านเขื่อน เพื่อแม่น้ำ น้ำ และชีวิต วันที่ 13 มีนาคม 2566 (เรดิโอฟรีเอเชีย)

พวกเขาจะไปทำงานหาเงินที่ไหนได้ เพราะพวกเขาถูกจำกัดให้อยู่แค่ในอำเภอนี้ และพวกเขาจะไม่มีที่ไป หากบริเวณนี้กลายเป็นเขื่อน

อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ตรวจสอบมาวัดผลกระทบของเขื่อนที่เกิดขึ้นต่อพื้นที่โดยรอบ พวกเขากลับประเมินโดยลดทอนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น จอ ดา ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงคนหนึ่งในแม่เงา กล่าว

ถ้ามันเกิดขึ้นจริง มันจะสร้างความยากลำบากให้แก่ครอบครัวที่นี่เขากล่าวในระหว่างการประชุม (กับผู้อยู่อาศัย) พวกเขาแสดงความเสียหายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งที่ผ่านมาเราอยู่กันแบบอิงอาศัยกับต้นไม้และป่า

230628-th-peoples-environment5.jpeg

ชาวบ้านนำเสนอผลการวิจัยระดับรากหญ้าเกี่ยวกับแม่น้ำยวม ในประเทศไทย วันที่ 13 มีนาคม 2566 (เรดิโอฟรีเอเชีย)

จากผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมปี 2564 มาลี กล่าวว่า ชาวบ้านแทบไม่สามารถเข้าถึงรายงานต้นฉบับจำนวนหลายพันหน้าเกี่ยวกับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบนั้นได้เลย

หลังจากถูกเรียกเก็บเงินกว่า 20,500 บาท สำหรับการพิมพ์รายงาน พวกเขาได้รับสำเนาที่ถูกดัดแปลงอย่างมาก และยังประเมินผลกระทบที่เป็นอันตรายของโครงการต่ำเกินไป

อย่างไรก็ตาม ทั้งมหาวิทยาลัยนเรศวรและกรมชลประทาน ไม่ได้ตอบรับการขอความคิดเห็นจากเรดิโอฟรีเอเชีย

เป็นเรื่องยากมากที่ชุมชนจะส่งเสียงออกไปได้ส. รัตนมณี พลกล้า มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน กล่าว ซึ่งมูลนิธินี้ได้ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ชาวบ้านในแม่เงา และช่วยให้พวกเขาได้รับต้นฉบับของรายงานการประเมินผลกระทบ

ชาวบ้านบางรายอาจไม่มีบัตรประจำตัว จึงเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะร้องเรียน เพราะเจ้าหน้าที่จะใช้โอกาสนี้กดดันและทำให้พวกเขาอยู่ในความเสี่ยง

ผลกระทบหลายชั้น

แม้ว่ารายงานฉบับเต็มของแม่เงาจะยังไม่เผยแพร่จนกว่าจะถึงปลายปีนี้ แต่ มนาปี คงรักช้าง นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ได้ระบุว่า ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาครั้งใหญ่ของชุมชนชายแดนแห่งนี้

ขณะที่ชาวประมงพบว่า ปลาเกือบ 53 สายพันธุ์ที่ถูกบันทึกไว้ในแม่น้ำจนถึงปัจจุบัน จะได้รับผลกระทบจากโครงการเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อาหารและสภาพภูมิศาสตร์ของแม่น้ำ หมู่บ้านแห่งนี้ยังบันทึกความสัมพันธ์ของพวกเขากับแม่น้ำและประวัติศาสตร์ผ่านงานศิลปะและการเล่าเรื่อง การคำนวณรายได้ทั้งหมดจากพืชผลที่มีเงินสดตลอดทั้งปี และบันทึกสายพันธุ์เฉพาะที่พบในพื้นที่

230628-th-peoples-environment4.jpeg

เด็ก ๆ ในพื้นที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนของพวกเขาและสัตว์ป่าที่นั่น โดยได้รับความช่วยเหลือจากนักศึกษาปริญญาโท มนาปี คงรักช้าง วันที่ 13 มีนาคม 2566 ในประเทศไทย (เรดิโอฟรีเอเชีย)

เรามีปลาอยู่ชนิดหนึ่งที่กำลังจะสูญพันธุ์ ในแม่น้ำยวมและแม่น้ำเงา ที่เรียกว่า ปลาสะแงะ (ปลาไหลครีบสั้น)มนาปี กล่าว โดยชาวบ้านยังได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับหอยชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ตามโขดหินก้นแม่น้ำ ที่จะได้รับผลกระทบเมื่อตะกอนประเภทอื่น ๆ ไหลท่วมพื้นที่ ซึ่งทั้งคู่เป็นแหล่งอาหารสำคัญของชุมชน

มันน่าสงสัยมาก สิ่งเหล่านี้มันยุติธรรมสำหรับสายพันธุ์พวกนี้หรือไม่ ที่พวกมันไม่สามารถกลับไปที่แม่น้ำที่พวกมันอาศัยอยู่ได้มนาปี กล่าว

บนเนินเขาใกล้ ๆ ดอว์ โพ ซึ่งอาศัยอยู่ในบ้าน ที่มีเพียงไม่กี่หลังในบ้านแม่เงา ที่ถูกประเมินว่าจะได้รับผลกระทบในช่วงเริ่มต้น

แม้จะเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ได้รับเงินชดเชยและอาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย แต่เธอก็แทบไม่มีความเชื่อมั่นในผลลัพธ์นี้ บ้านของเธอตั้งอยู่ถัดจากจุดที่กำหนดให้เป็นที่ตั้งของสถานีสูบน้ำ 6 แห่ง เพื่อสูบน้ำเข้าท่อขนาด 8 เมตร ซึ่งส่งน้ำลึกลงไปใต้พื้นดิน 600 เมตร

230628-th-peoples-environment6.jpeg

ดอว์ โพ นั่งอยู่กับญาติในบ้านของเธอ บ้าน 1 ใน 4 หลัง ในบ้านแม่เงา ประเทศไทย ฉันจะไม่กังวลเรื่องบ้าน ถ้าต้องอพยพ” เธอบอกเรดิโอฟรีเอเชีย (เรดิโอฟรีเอเชีย)

ฉันจะไม่กังวลเรื่องบ้าน ถ้าต้องอพยพ ถ้าฉันเป็นเจ้าของบางอย่าง ฉันจะเสียใจที่ทำมันหาย ฉันไม่แน่ใจว่าควรไปหรืออยู่ต่อดอว์ โพ กล่าวกับเรดิโอฟรีเอเชีย ตอนนี้ ดอว์ โพและพ่อแม่ที่สูงอายุไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมในหมู่บ้านได้อีกต่อไป เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ เธอก็ยังกังวลเกี่ยวกับการอนุรักษ์แหล่งอาหารธรรมชาติจากแม่น้ำและบริเวณโดยรอบ

แม้ว่ากรณีศึกษาในอดีตจะประสบความสำเร็จ แต่มาลีกล่าวว่า จะต้องใช้มากกว่าการวิจัยเพื่อหยุดโครงการขนาดใหญ่จากชุมชน ซึ่งมีอำนาจต่อรองน้อย โดยหลังจากการวิจัยเสร็จสิ้น มาลีวางแผนที่จะจัดการประชุมเพื่อเปิดเผยผลการวิจัยให้กับสาธารณชน

รัฐบาลเปรียบเสมือนมหาอำนาจเมื่อเทียบกับเรา เราเหมือนมดและพวกเขาก็เหมือนช้างมาลี ระบุรัฐบาลและกรมชลประทานคงคิดว่า หมู่บ้านนี้คงไม่มีใครสนใจ หรืออาจคิดว่าสร้างโครงการนี้ขึ้นมาได้ง่าย ๆ แต่มันจะไม่เป็นเช่นนั้น

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง