ผู้เห็นต่างจากรัฐบาล : “พวกเขาส่งข้อความหาเพื่อนและญาติหมายเอาตัวผมกลับจีน”

เกา เฟิง - เรดิโอ ฟรี เอเชีย
2023.01.30
ผู้เห็นต่างจากรัฐบาล : “พวกเขาส่งข้อความหาเพื่อนและญาติหมายเอาตัวผมกลับจีน” สะพานข้ามแม่น้ำแควในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีส่วนโค้งของสะพานสร้างโดยแรงงานชาติพันธมิตรและพลเรือนชาวเอเชียที่ถูกบังคับโดยทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนของสะพานที่เป็นสี่เหลี่ยมคางหมูถูกสร้างขึ้นโดยญี่ปุ่นหลังสงคราม เพื่อเป็นค่าปฏิกรรมสงคราม (เอเอฟพี)
เอเอฟพี

หู จุนเชียง ผู้ลี้ภัยชาวจีนที่อพยพมายังประเทศไทย ได้ทำงานที่ไม่ได้ค่าแรงมาเป็นเวลาหลายปี ในการดูแลอนุสาวรีย์ให้กับเพื่อนร่วมชาติของเขา ผู้ที่เสียชีวิตจากการบังคับใช้แรงงานอย่างโหดร้ายภายใต้คำสั่งของกองทัพญี่ปุ่น ในการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควในจังหวัดกาญจนบุรี  

อดีตสมาชิกขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2532 ซึ่งจบลงด้วยการสังหารหมู่นองเลือดที่จตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ที่กรุงปักกิ่ง กล่าวว่า เขาเลือกมาใช้ชีวิตอย่างเก็บตัวที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2558  จนได้รับสถานะผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการจากองค์การสหประชาชาติ 

แม้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จะสามารถกำหนดให้ใครสักคนเป็นผู้ลี้ภัยก็ได้ หากพวกเขายื่นขอสถานะในประเทศไทย แต่ UNHCR ไม่ได้ติดตามผลหรือเสนอให้ผู้ลี้ภัยมีโอกาสตั้งถิ่นฐานใหม่ได้ทุกคน ทำให้มีชาวจีนไม่ทราบจำนวนกำลังเสี่ยงต่อการถูกกักขังและถูกบังคับส่งตัวกลับ หากทางการไทยเลือกที่จะช่วยรัฐบาลจีนและกักขังคนเหล่านี้ไว้ 

ในตอนต้นของศตวรรษที่ 21 ผู้ลี้ภัยจากจีนแผ่นดินใหญ่ได้ซื้อที่ดินที่นี่และสร้างสุสานเพื่อเป็นอนุสรณ์ แต่เขาก็มีอายุค่อนข้างมากแล้ว และสุสานก็ถูกละเลยนายหูกล่าวกับเรดิโอ ฟรี เอเชีย เว็บไซต์ในเครือเบนาร์นิวส์ ในการสัมภาษณ์เมื่อไม่นานมานี้ 

ผมเป็นเพื่อนกับเขา ดังนั้นผมจึงคิดริเริ่มจัดการและบำรุงรักษาสถานที่นี่ และอยู่ที่นี่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผมช่วยเขาทำงานก่อสร้าง กำจัดวัชพืช และตัดแต่งต้นไม้นายหู ในวัย 60 ปี ซึ่งมาจากมณฑลหูเป่ย ทางตอนกลางของจีน กล่าวเพิ่มเติม 

อนุสรณ์สถานแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสะพาน 277 หรือสะพานข้ามแม่น้ำแคว บนเส้นทางรถไฟสายไทย-เมียนมาอันโด่งดัง ซึ่งทอดข้ามแม่น้ำแควน้อยที่กาญจนบุรี 

สถานที่งดงามท่ามกลางความสะเทือนขวัญ 

ปัจจุบัน บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของสวนอนุสรณ์หลายแห่ง เพื่อรำลึกถึงเหยื่อของการบังคับใช้แรงงานภายใต้กองทัพญี่ปุ่น และมีบริการรถไฟสำหรับนักท่องเที่ยวข้ามสะพาน พร้อมด้วยร้านกาแฟและร้านอาหารท่ามกลางวิวริมฝั่งแม่น้ำที่สวยงาม 

มันเป็นจุดที่มีเสน่ห์และงดงาม แต่แท้จริงแล้วแฝงไปด้วยความสยดสยองและความทุกข์ทรมานของคนที่สร้างมันขึ้นมาตามคำอธิบายบนเว็บไซต์ของมูลนิธิสุสานสงครามแห่งเครือจักรภพ 

รายงานระบุว่า ผู้เสียชีวิตราว 60,000 คน ซึ่งเป็นเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรที่มีทหารอังกฤษ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และทหารอเมริกัน รวมถึงพลเรือนชาวจีน มาเลเซีย เมียนมา ไทย และชาวอินโดนีเซียอีกกว่า 200,000 คน ผู้ที่ถูกบังคับให้เข้ารับใช้ชาติ 

พวกเขาจะทำงานในสภาพที่ย่ำแย่ ได้รับอาหารในปริมาณที่น้อยนิด อดหลับอดนอน และได้รับการรักษาพยาบาลเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่มีเลยไกด์คนหนึ่งกล่าว พร้อมกับเสริมว่าแรงงานจำนวนมากเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ถูกทรมานและถูกทหารญี่ปุ่นทำร้ายร่างกายอย่างโหดเหี้ยมจนถึงแก่ชีวิต

th-wu.jpg

นายหู จุนเชียง ผู้ลี้ภัยชาวจีน ยังคงรักษาอนุสาวรีย์ของแรงงานชาวจีนที่เสียชีวิตในระหว่างการบังคับใช้แรงงานโดยกองทัพญี่ปุ่น เพื่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควในจังหวัดกาญจนบุรี (ภาพโดย หู จุนเชียง)

 

ถูกข่มขู่โดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง 

สำหรับนายหู พื้นที่ดังกล่าวให้เขามีความหวังที่จะได้ผ่อนคลายจากความกลัวอยู่ตลอดเวลาว่าจะถูกควบคุมตัวและคุกคามโดยเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจยังคงแวะเวียนไปที่บ้านเขาเพื่อถามคำถาม 

ผมพบว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ผู้คนมากมายเริ่มสงสัยมากขึ้น มันไม่เคยหยุดเลย บางครั้งพวกเขามาที่นี่เพื่อหาเรื่องจับผิดผมด้วยซ้ำ”  นายหูกล่าว 

ช่วงเวลาที่แย่ที่สุดคือ ตอนที่เจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมาเพื่อก่อกวนผมถึงสองครั้ง แต่ละครั้ง พวกเขาขับรถมาเป็นขบวน มีรถห้าหรือหกคัน โชคดีที่พวกเขาตัดสินใจไม่จับกุมผม เพราะว่าผมก็ไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมายนายหูกล่าวเพิ่ม 

เขายืนยันว่า เขาค่อนข้างแน่ใจว่าทางการไทยจะดำเนินการตามคำขอของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ในกรุงปักกิ่ง 

พวกเขารู้ละเอียดมากถึงแหล่งที่มารายได้ของผม บอกว่าญาติของผมในจีนแผ่นดินใหญ่ให้เงินสนับสนุน และเจ้าหน้าที่ก็เคยถามชื่อพวกเขาด้วย นายหูระบุ 

เห็นได้ชัดว่ามีเพียงแค่พรรค CCP เท่านั้นที่จะสนใจเรื่องเหล่านี้ รัฐบาลจีนส่งข้อความหาเพื่อนและญาติ ๆ ของผมหลายครั้ง เพื่อให้พวกเขาเกลี้ยกล่อมให้ผมกลับไป และสัญญาว่าจะให้เงินบำนาญและความช่วยเหลือทางการเงินอื่น ๆ แก่ผม” นายหูกล่าวทิ้งท้าย 

นั่นมันเป็นสิ่งที่อันตรายมากกว่าเป็นเรื่องดี 

อย่างไรก็ตาม นายหูยัง เชื่อว่าทุกวันนี้ เขาและผู้ลี้ภัยชาวจีนคนอื่น ๆ ในประเทศไทยกำลังตกอยู่ในอันตรายมากขึ้นจากรัฐบาลจีน  โดยอ้างถึงการกักขังเพื่อนผู้ลี้ภัย หลี่ หนานเฟย เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลังจากที่เขาออกไปประท้วงต่อต้านประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเพียงลำพังในกรุงเทพฯ 

นายหูมีเหตุผลมากมายที่จะกลัวการถูกส่งกลับประเทศ เขากล่าวกับเรดิโอ ฟรี เอเชีย ว่า ขณะนี้ ผู้ลี้ภัยชาวจีนจำนวนมากในประเทศไทยกำลังหลบหนีอยู่ โดยต้องเคลื่อนย้ายตลอดเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมและถูกส่งกลับประเทศในข้อหาเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย  

เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 อาดิยา ชาวมองโกเลียสัญชาติจีนที่หลบหนีออกจากประเทศหลังเข้าร่วมประท้วงเมื่อปี 2563 เรื่องการห้ามการเรียนการสอนโดยใช้ภาษามองโกเลียในโรงเรียน ถูกตำรวจความมั่นคงของจีนควบคุมตัวในกรุงเทพฯ 

ในปี 2562 ตำรวจไทยควบคุมตัวผู้ลี้ภัยชาวจีน 2 คน ได้แก่ นายเจีย หัวเจียง และนายหลิว ซื่อหง ผู้ที่ก่อนหน้านี้เคยช่วยนายฮวง ฉี ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์เพื่อสิทธิในเรือนจำ ก่อนจะหลบหนีออกนอกประเทศ 

นอกจากนี้ในปี 2561 นายหวู ยู่ฮัว ผู้เห็นต่างจากรัฐบาลจีน ที่พำนักอยู่ในประเทศไทย ได้เริ่มประท้วงอดอาหารในศูนย์กักกันคนเข้าเมืองของไทย เพื่อไม่ให้เธอถูกส่งตัวกลับประเทศจีน หลังจากที่ตำรวจกรุงเทพฯ ควบคุมตัวเธอและนายหยาง ฉง สามีของเธอ 

เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ผู้ขอลี้ภัยชาวจีน นายเจียง ยี่เฟย และนายดอง กวงปิง ซึ่งหลบหนีการข่มเหงในประเทศบ้านเกิดของพวกเขา ถูกไทยส่งตัวกลับให้ทางการจีน กรณีนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากสหประชาชาติ พวกเขาถูกจำคุกในข้อหา บ่อนทำลายอำนาจของรัฐบาล ในปี 2561

 

 

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง