การเลือกตั้งไทย ‘ที่ตุกติก’ อาจเลื่อนออกไปอีกครั้ง
2019.01.14
วอชิงตัน
หลังจากได้มีการเลื่อนการเลือกตั้งถึงห้าครั้งแล้ว คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาจจะเลื่อนการเลือกตั้งออกไปอีกครั้ง แม้ว่า ผู้บัญชาการทหารได้ให้สัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้งภายใน 2 ปีครึ่ง หลังจากการเกิดรัฐประหาร เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 โดยมีการคาดหวังจากหลายฝ่ายอย่างสูงว่า การเลือกตั้งจะมีขึ้น หลังจากรัฐบาลยกเลิกการห้ามพรรคการเมืองทำกิจกกรรม ในวันที่ 11 ธันวาคม 2561
ภายใต้ กฎการเลือกตั้งของรัฐบาลทหาร การเลือกตั้งจะต้องมีขึ้นภายใน 150 วัน คือ ภายในวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 นับตั้งแต่ฤดูการเลือกตั้งเริ่มต้น และล่าสุดได้มีการประกาศ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 ซึ่งหากมีการจัดการเลือกตั้งก่อนหน้านั้น ถือว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง และจะจัดการหลังจากพิธีบรมราชาภิเษกดูเหมือนจะไกลเกินไป
ต่อมา เมื่อวันที่ 7 มกราคม กระทรวงมหาดไทยได้สั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐหยุดการเตรียมการเลือกตั้ง สำหรับเดือนกุมภาพันธ์ มีการพูดถึงกันมากขึ้นว่า อาจจะเป็นวันที่ 10 มีนาคม รัฐบาลทหารอาจพยายามใช้มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อชะลอการเลือกตั้ง แต่ทุกคนเชื่อว่า โอกาสที่จะถูกนำมาใช้มีน้อยมาก
รัฐบาลทหารสามารถหาเหตุผลทุกอย่างมาเพื่อถ่วงเวลา เพราะการเลือกตั้งทุกครั้ง ที่ดำเนินการโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่ผ่านมานั้น พรรคเพื่อไทย หรือ ครั้งเมื่อใช้ชื่อพรรคอีกชื่อหนึ่งก่อนหน้านั้น ก็ได้ชนะการเลือกตั้งมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดรัฐประหารขึ้นถึงสองครั้ง
หากการเลือกตั้งจะยังคงดำเนินต่อไป นั่นอย่างไรก็จะไม่เป็นการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม เพราะมีการตุกติก มีการจัดเตรียมการล่วงหน้าไว้แล้ว ที่เล็งผลสำเร็จตามที่ต้องการ
ตุกติก
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามอำนาจของนายกรัฐมนตรี ก็สามารถแจกจ่าย และให้เงินอุดหนุนตามความประสงค์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาชิกรัฐสภาที่ได้คัดเลือกและแต่งตั้งโดยทหารและกลุ่มคนหัวเก่า
นายกรัฐมนตรี ยังได้จัดการประชุมครม. ทั่วไปในจังหวัดต่างๆ และในพื้นที่ที่ฐานเสียงส่วนมากเป็นของฝ่ายตรงข้าม เพียงเพื่อที่เขาจะได้ถ่ายภาพร่วมและมีโอกาสที่จะเสนอโครงการพัฒนาต่างๆ และแจกจ่ายเงินแก่เกษตรกร ทั้งๆที่การกระทำอย่างเดียวกัน ในรัฐบาลชุดก่อน ถูกเรียกว่า "ทุจริต"
พล.อ.ประยุทธ์ มีมาตรา 44 ซึ่งให้อำนาจในการควบคุมตัว และมีอำนาจเด็ดขาดในการออกคำสั่งใด ๆ ที่จำเป็น ที่กล่าวว่ามีไว้เพื่อ "เสริมสร้างความสามัคคีและความปรองดอง" หรือเพื่อป้องกันการกระทำใดๆที่จะทำลายความสงบสุขของสาธารณชน
รัฐบาลทหารยังนำกฎหมายที่เข้มงวดมาก ออกมาใช้ยามที่ต้องการ
เมื่อไม่นานมานี้ สมาชิกพรรคเพื่อไทย 8 คน โดนข่มขู่ และโดนข้อหาว่ามีการปลุกระดม เนื่องจากพรรคมีการจัดการแถลงข่าววิจารณ์รัฐบาลทหารและนโยบายรัฐ ในทำนองเดียวกัน 3 ผู้นำพรรคอนาคตใหม่ ถูกกล่าวหาว่า ละเมิดพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ส่วน กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 ได้ถูกนำมาใช้แล้วกว่า 100 ครั้ง นับตั้งแต่รัฐประหาร ในปี 2557
รัฐบาลทหารก็มีการจัดการปรับเปลี่ยนแผนการการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดผลประโยชน์กับฝ่ายตนเช่นกัน
มีการรวมเขตที่สำคัญที่มีฐานสมาชิกของพรรคเพื่อไทยส่วนใหญ่อยู่ เข้าด้วยกัน ในเวลาเดียวกัน เราได้เห็นการแพร่กระจายอย่างดีของเขตเลือกตั้ง ของ พรรคพลังประชารัฐ พรรคที่ถือเสียงฝ่ายรัฐบาลทหาร หรือได้รับสมาชิกนักการเมืองคนสำคัญ มาจากพรรคอื่นๆ
รัฐบาลทหารได้มีคำสั่งห้ามนักการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองเป็นเวลาห้าปี จากหลักฐานหรือสาเหตุเพียงเล็กน้อย โดยไม่มีหลักเกณฑ์ของมาตรฐานการละเมิดเป็นที่ตั้ง อีกทั้ง รัฐบาลยังสามารถสั่งปิดพรรคการเมืองได้ตามกฎหมายเช่นเดียวกัน
นอกจากนั้น รัฐบาลยังคงเซ็นเซอร์สื่ออย่างหนัก ในช่วงปลายเดือนธันวาคม สมาคมสื่อออกมาเรียกร้องให้ยุติกวนสื่อ จนถึงตอนนี้รัฐบาลทหารยังปฏิเสธ
ด้าน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อจำกัดสิทธิของพรรคเพื่อไทย ในขณะที่ เมื่อเร็วๆ นี้ ประเด็นคอร์รัปชันของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดเจน และแม้แต่คณะกรรมาธิการสามในห้าคน ที่รองนายกฯ ประวิตร คัดเลือกเข้ามาเอง ยังโหวตไม่เข้าข้างรองนายกฯ อีกทั้งกลุ่มการเมืองและสาธารณชน ได้ออกมาเรียกร้องเพื่อให้ขับไล่กรรมาธิการ ป.ป.ช
แก่นแท้ของการบิดเบือนระบบ คือ รัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสองประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้ง
ประการแรก การถ่ายโอนอำนาจที่สำคัญจากรัฐสภา ผ่านองค์กรที่ไม้ได้มาจากการเลิอกตั้ง ซึ่งสมาชิกถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ทหารอาวุโสและกลุ่มคนหัวเก่า โดยไม่ต้องรับผิดชอบและกำกับดูแล
หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งพยายามยืนยันความเป็นอิสระของรัฐบาลทหาร แต่ก็ยังคงยึดมั่นอยู่กับความต้องการของคสช.
นอกจากนี้ยังรวมถึงวุฒิสมาชิก 250 คน รัฐบาลทหารจะเลือกสมาชิก 194 คนโดยตรง 6 ที่นั่งจะไปยังเจ้าหน้าที่ทหารที่อาวุโสสูง ส่วนที่เหลืออีก 50 คน จะได้รับการคัดเลือกจากตัวแทนของกลุ่มสังคม 10 กลุ่ม หลังจากกระบวนการเลือกที่ไม่โปร่งใส ดำเนินการโดยถูกกล่าวหาว่าเป็นการทุจริต
ประการที่สอง รัฐธรรมนูญถูกเขียนมาเพื่อสกัดพรรคใหญ่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 คน สภาล่างมีสมาชิก 500 คน เป็น ส.ส.เขต 350 คน ลดลงจากรัฐธรรมนูญฉบับเก่าที่มี 375 ที่นั่ง เป็นการสกัดพรรคเพื่อไทยที่ได้เสียงมาจากเขตเลือกตั้งในต่างจังหวัด
ส่วนที่เหลืออีก 150 ที่นั่ง เป็นส.ส.บัญชีรายชื่อพรรค (ส.ส.ปาร์ตี้ลิสท์) ซึ่งจะถูกจัดสรรให้กับพรรคต่างๆโดยพิจารณาจากส่วนแบ่งของการโหวตโดยรวม แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้เปลี่ยนวิธีการคำนวนปาร์ตี้ลิสท์ เพื่อสกัดพรรคใหญ่ๆ
เป้าหมายของรัฐบาลทหารคือ จะไม่มีพรรคใดได้รับเสียงส่วนใหญ่อย่างแน่นอน และหากมีการจัดตั้งรัฐบาล ก็จะเป็นการก่อตั้งที่ง่อนแง่น ไม่มั่นคง ซึ่งกองทัพจะสามารถใช้อิทธิพลเข้าควบคุมในทางใดทางหนึ่งได้ ปัจจุบันมีพรรคสมัครเข้าร่วมรับสมัครเลือกตั้ง 27 พรรค
นี่คือสาเหตุที่วุฒิสภามีความสำคัญมาก: ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งสองสภาเลือกนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เพียงแค่สภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ดังนั้นพรรคต้องการ 376 เสียง (พรรคเดี่ยวหรือกับพรรคร่วม) เพื่อจัดตั้งรัฐบาล กับการที่รัฐบาลทหารได้เสียงส่วนใหญ่ 250 ที่นั่ง ในวุฒิสภาแล้ว นั่นเป็นตัวเลขที่สูงมาก
จุดจบของการรัฐประหาร?
คณะรัฐประหารมักพูดว่า ได้ออกแบบรัฐธรรมนูญมา เพื่อไม่ให้ต้องทำรัฐประหารอีก และที่จริง ผมเชื่อพวกเขา เป้าหมายของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือกองทัพไม่จำเป็นต้องทำการรัฐประหารอีกครั้ง
พวกเขากุมอำนาจทั้งหมด และสามารถควบคุมสิ่งต่างๆ “ตามกฎหมาย” ผ่านระบบที่พวกเขาควบคุม ผ่านองค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งและมีความรับผิดชอบเที่ยงธรรม
อย่างไรก็ตาม พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่ประกาศเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยปฏิเสธที่จะให้สัญญาว่า กองทัพจะไม่ทำรัฐประหาร
การแทรกแซงทางการเมืองของฝ่ายทหารในไทย จะยังอยู่ และการมีอยู่ จะทำให้ประเทศไทยเกิดความไม่มั่นคงทางการเมือง และมีโอกาสสูงที่ประเทศไทยจะสูญเสียความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทูตในภูมิภาคนี้
ซาคารี อาบูซา เป็นอาจารย์ประจำที่เนชั่นแนล วอร์ คอลเลจ ในวอชิงตัน และเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ “Forging Peace in Southeast Asia: Insurgencies, Peace Processes, and Reconciliation” ความคิดเห็นที่แสดงไว้ในบทความนี้เป็นของผู้เขียนเอง และไม่ได้สะท้อนถึงจุดยืนของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ เนชั่นแนล วอร์ คอลเลจ หรือ เบนาร์นิวส์