นายกฯ ไม่ปฏิบัติตามกฎ เผยชื่อพท.ปลอดภัย กระทบขั้นตอนเจรจา

บทวิเคราะห์โดย ดอน ปาทาน
2018.05.15
ยะลา
180514-TH-police-1000.jpg เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้รถยนต์หุ้มเกราะลาดตระเวน ในพื้นที่อำเภอบาเจาะ นราธิวาส วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561
มาตาฮารี อิสมะแอ/เบนาร์นิวส์

การเจรจาสันติสุขระหว่างไทยกับองค์กรร่ม ที่เป็นตัวแทนของขบวนการแบ่งแยกดินแดนปัตตานีมลายู ยังคงหยุดนิ่ง เพราะกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบรู้สึกถูกดูแคลน เนื่องจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาเปิดเผยชื่อของอำเภอที่ถูกเลือกเป็นพื้นที่ปลอดภัยนำร่อง ก่อนเวลา

แหล่งข่าวทั้งสองฝ่ายยืนยันว่า การเจรจาสันติภาพที่หยุดนิ่งอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยในกรุงเทพฯ กับกลุ่มมาราปาตานี กลุ่มที่เป็นตัวแทนของผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มต่าง ๆ ในการเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลนั้น มาจากการประกาศล่วงหน้า โดยพลเอกประยุทธ์ ซึ่งถือเป็นการละเมิดการเจรจาร่วม

กลุ่มมาราปาตานีรู้สึกถูกดูหมิ่นดูแคลน เนื่องจากพวกเขาคาดว่า จะมีการประกาศชื่อพื้นที่ปลอดภัยที่เลือกเป็นโครงการนำร่องอย่างเป็นทางการ ซึ่งถือว่าเป็น "ความก้าวหน้า" ของการทำงานร่วมกันในการจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

แหล่งข่าวจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดน หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มมาราปาตานี กล่าวว่า พวกเขาต้องการเห็นฝ่ายไทยย้ำถึงความมุ่งมั่นแบบเดียวกันกับ รัฐบาลสมัยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ได้ประกาศ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2556 เมื่อมีการเปิดตัวกระบวนการเจรจาครั้งแรก โดยได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า รัฐบาลตั้งใจจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ด้วยวิถีทางการเมือง ก่อนหน้านั้นการเจรจาสันติภาพถูกเก็บไว้ภายใน โดยไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ

แหล่งข่าวจากทั้งสองฝ่ายยืนยันว่า การเจรจาสันติภาพที่หยุดนิ่งอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยในกรุงเทพฯ กับกลุ่มมาราปาตานี กลุ่มที่เป็นตัวแทนของผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มต่าง ๆ ในการเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลนั้น มาจากการประกาศล่วงหน้าโดยพลเอกประยุทธ์ ซึ่งถือเป็นการละเมิดการเจรจาร่วม

กลุ่มมาราปาตานีรู้สึกถูกดูหมิ่นดูแคลน เนื่องจากพวกเขาคาดว่า จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการ ของชื่อพื้นที่ปลอดภัยที่เลือกเป็นโครงการนำร่อง ซึ่งถือว่าเป็น "ความก้าวหน้า" ของการทำงานร่วมกันในการจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

แหล่งข่าวจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดน หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มมาราปาตานี กล่าวว่า พวกเขาต้องการเห็นฝ่ายไทยย้ำถึงความมุ่งมั่นแบบเดียวกันกับที่รัฐบาลสมัยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้ประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2556 เมื่อมีการเปิดตัวกระบวนการเจรจาครั้งแรก โดยได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า รัฐบาลตั้งใจจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ด้วยวิถีทางการเมือง ก่อนหน้านั้นการเจรจาสันติภาพถูกเก็บไว้ภายในไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ

แม้ในความเป็นจริง พื้นที่ปลอดภัย จะไม่ใช่ตัวแปรที่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งที่มีมานานหลายทศวรรษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมก็ตามที หากดูเหมือนจะเป็นสิ่งเดียวที่แสดงผลของการเจรจาที่กำลังมีอยู่ระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มมาราปาตานี นั่นคือสาเหตุว่า เหตุใดมาราปาตานีจึงมีปฏิกิริยาที่อ่อนไหวมากเป็นพิเศษกับการเปิดเผยชื่อของอำเภอก่อนเวลา ของพลเอกประยุทธ์ครั้งนี้

และยังกล่าวได้อีกว่า การที่พลเอกอักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขฝ่ายไทย ได้รีบออกมากล่าวถึง การจะปล่อยผู้ต้องโทษทั้งสามคน ตามที่กลุ่มมาราปาตานีเรียกร้อง ซึ่งเป็นข้อเรียกร้อง ก่อนจะมีการพิจารณาตกลงจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัย นั้น เพราะตระหนักถึงความผิดพลาดที่นายกรัฐมนตรีได้พูดไว้ โดยการเปิดเผยต่อสาธารณชน เรื่องการพักโทษนักโทษทั้งสามนั้น นับเป็นการสื่อไปยังกลุ่มมาราปาตานีว่า ไม่ได้สูญเสียอะไรไปทั้งหมด

โดย ผู้ต้องโทษทั้งสามคนจะถูกย้ายไปยัง "ศูนย์พักรอ" หรืออีกนัยคือ ห้องพัก (อพาร์ตเมนท์) ที่ตั้งอยู่ในบริเวณสำนักงานของคณะกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี ที่เรียกว่า "เซฟเฮ้าส์" โดยจะมีการคุ้มกันจากเจ้าหน้าที่ทหารไทย จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

ปัจจัยอื่นของบีอาร์เอ็น

ขณะเดียวกัน ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงไทยและแหล่งข่าวของกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ กล่าวว่า คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจนกว่า กลุ่มบีอาร์เอ็น (Barisan Revolusi Nasional - BRN) จะมีการเจรจากับฝ่ายไทยโดยตรง บีอาร์เอ็น เป็นหนึ่งในขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ก่อตัวมานานมาก และควบคุมกองกำลังต่อสู้ทั้งหมดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

รัฐบาลไทย ในกรุงเทพฯ ประสงค์ให้กลุ่มบีอาร์เอ็นเข้าร่วมโต๊ะพูดคุยภายใต้องค์กรมาราปาตานี แต่กลุ่มบีอาร์เอ็น ยืนยันว่าพวกเขาต้องการเจรจาโดยตรงกับฝ่ายไทย ก็ต่อเมื่อพวกเขาได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้องแล้วเท่านัน

นอกจากนี้การพูดคุยใดๆ จะต้องสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติตามหลักสากล ซึ่งหมายความว่า การเจรจาจะต้องมีสื่อกลางไกล่เกลี่ยและอำนวยความสะดวกโดยรัฐบาลสากล และแหล่งข่าวบีอาร์เอ็น กล่าว

ผู้กำหนดนโยบายในกรุงเทพฯ ปฏิเสธความคิดที่จะขยายการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพ ซึ่งมีมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวกขณะนี้ และการที่จะให้ประชาคมนานาชาติมีส่วนร่วมกับ BRN ในการเจรจาโดยตรง

การมีส่วนร่วมของประชาคมระหว่างประเทศ

แต่เจ้าหน้าที่ไทยอื่นๆ กล่าวว่า พวกเขาได้ปล่อยวางความคิดที่ว่า เกมต้องมีแพ้มีชนะแล้ว พวกเขาเห็นด้วยกับการให้ประเทศสมาชิกประชาคมโลกเข้ามาทำงานร่วมกับ บีอาร์เอ็น และองค์กรภาคประชาสังคมท้องถิ่น (CSOs) รวมทั้ง ผู้ที่มีความเห็นต่างทั้งหลาย เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพและทำความคุ้นเคยกับแนวคิดต่างๆ เช่น กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และมาตรฐานสากลอื่น ๆ

เจ้าหน้าที่ที่เข้มงวดไม่ยอมอ่อนข้อในกองทัพ โดยเฉพาะ กองทัพภาคที่สี่ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลความมั่นคงในชายแดนใต้ ที่ไม่ค่อยชอบใจกับความคิดที่จะให้เอ็นจีโอระหว่างประเทศ หรือรัฐบาลต่างชาติมามีส่วนร่วมกับกิจการในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากเกินไป เนื่องจากเกรงว่าจะต้องอธิบายกับบุคคลภายนอกถึง ข้อน่าสงสัยต่างเกี่ยวกับกลยุทธ และการปฏิบัติการในภูมิภาคที่ยากต่อการควบคุมนี้

นักวิจารณ์ยังชี้ให้เห็นถึง การเพิ่มมากขึ้นของข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการคุกคามผู้นำองค์กรภาคประชาสังคม และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในภูมิภาค โดยเจ้าหน้าที่ ตัวอย่างเช่น เมื่อไม่นานมานี้ เจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคงประมาณ 60 คน ได้ทำการบุกค้นบ้านของนักเคลื่อนไหวหนุ่มชาวปัตตานีมลายู นายอาเต็ฟ โซ๊ะโก (Artef Sohko)

เจ้าหน้าที่ได้ยึดเอกสารทางวิชาการบางส่วนจากบ้านของ นายอาเต็ฟ ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษและเป็นเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพในมินดาเนา ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์

"เขาบอกว่า จะเอาไปแปล ผมก็หวังว่า พวกเขาจะได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากเอกสารเหล่านั้น" นายอาเต็ฟ กล่าว

นอกจากนั้น พลเอกอักษรา หัวหน้าคณะพูดคุยฯ ฝ่ายไทยเกรงว่า การมีส่วนร่วมของบุคคลภายนอกจะทำลายบทบาทของเขา ในฐานะที่เป็นผู้ได้รับมอบหมายแต่เพียงผู้เดียว ในการนำการเจรจากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ เจ้าหน้าที่ไทยที่ทำงานแก้ปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้กล่าว

ซึ่งท่าทีหรือความคิดดังกล่าว อาจจะเป็นคำถาม หากมีการเปลี่ยนจากรัฐบาลทหาร และรัฐบาลใหม่มีสมาชิกเป็นพลเรือนมากกว่า และสนับสนุนแนวคิด โดยเปิดโอกาสให้ประชาคมนานาชาติเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาสันติภาพนี้ หากนั่นหมายถึงการจะนำบีอาร์เอ็นมาสู่โต๊ะร่วมเจรจา

บีอาร์เอ็นในอีกด้านหนึ่ง กล่าวว่า ประเทศไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับพวกเขา และต้องการที่จะยุติความรุนแรงทางการเมืองเท่านั้น โดยที่ไม่มีการกล่าวถึง ข้อเรียกร้องดินแดนทางประวัติศาสตร์และสาเหตุที่แท้จริงของปํญหาความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

พวกเขากล่าวว่า พลเอกประยุทธ์ แหกกฎด้วยการประกาศเรื่องพื้นที่ความปลอดภัย "ก่อนเวลา" ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐบาลในกรุงเทพฯ หมิ่นกลุ่มมาราปาตานี ทั้งการที่รัฐบาลไทยยังคงเรียก องค์กรมาราปาตานีว่า "ปาร์ตี้-บี" แทนการใช้ชื่อองค์กร ก็เป็นอีกหนึ่งข้อ

ท้ายสุดของการวิเคราะห์ พื้นที่ปลอดภัย คือ การลองเชื่อใจที่ไม่มีอะไรมายืนยันได้ เป็นวาระที่ตั้งขึ้นมาบนความล้มเหลว เพราะโครงการตั้งอยู่บนฐานที่ไม่แข็งแรง

กลุ่มที่ควบคุมกองกำลังในพื้นที่ – บีอาร์เอ็น - อาจจะสัญญาว่าจะไม่บ่อนทำลายโครงการ แต่คงยังเป็นที่กังขาว่า จะเป็นเช่นนี้ได้นานเพียงใด

ดอน ปาทาน เป็นที่ปรึกษาและนักวิเคราะห์เรื่องความมั่นคงที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย ความคิดเห็นที่แสดงในงานเขียนชิ้นนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น ไม่ใช่ของเบนาร์นิวส์

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง