เด็กและเยาวชนเอเชียนัดพร้อมนักเคลื่อนไหวทั่วโลก เดินขบวนต้านภาวะโลกร้อน

ทีมข่าวเบนาร์นิวส์
2019.09.20
กรุงเทพฯ มะนิลา จาการ์ตา และธากา
190920-SEA-climate-1.jpg

กลุ่มผู้ประท้วงในกรุงเทพฯ เล่นละครแกล้งตาย ที่หน้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงถึงการตายของสิ่งแวดล้อม หากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ วันที่ 20 กันยายน 2562 (ภิมุข รักขนาม/เบนาร์นิวส์)

190920-SEA-climate-2.jpg

แอนดรี เออแล็งกา นักเรียนชาวอินโดนีเซีย ถือโปสเตอร์พูดว่า “เพราะ Greta ก็คือเรา” หมายถึง เกรตา ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวสวีเดน วัย 16 ปี ในการเดินขบวนที่กรุงจาการ์ตา วันที่ 20 กันยายน 2019 (อาฟรีอาดี ฮิคมาล/เบนาร์นิวส์)

190920-SEA-climate-3.JPG

ในกรุงธากา เด็กนักเรียนถือป้ายเดินขบวนเรียกร้องครั้งสำคัญ ไปบนถนนมานิค มีอา เรียกร้องให้ผู้นำโลกเร่งดำเนินการแก้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วันที่ 20 ก.ย. 2562 (เมกห์ โมเนอร์/เบนาร์นิวส์)

190920-SEA-climate-4.jpg

เด็ก ๆ ในมะนิลา กอดพิกาชู หนึ่งในตัวการ์ตูนในโปเกมอน ซึ่งถือเป็นตัวแทนของแทนของพลังงานสะอาด ขณะร่วมกันเดินขบวน ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในฟิลิปปินส์ วันที่ 20 ก.ย. 2562 (โจโจ ริโนซา/เบนาร์นิวส์)

190920-SEA-climate-5.jpg

ซูเปอร์แมนและเด็กนักเรียนถือป้ายและพร้อมตะโกน ขอความยุติธรรมในสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในกรุงเทพฯ 20 ก.ย. 2562 (ภิมุข รักขนาม/เบนาร์นิวส์)

190920-SEA-climate-6.jpg

แอนดรี เออแล็งกา นักเรียนชาวอินโดนีเซีย ถือโปสเตอร์พูดว่า “เพราะ Greta ก็คือเรา” หมายถึง เกรตา ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม วัย 16 ปี ชาวสวีเดน ในระหว่างการเดินขบวน ที่กรุงจาการ์ตา วันที่ 20 กันยายน 2019 (อาฟรีอาดี ฮิคมาล/เบนาร์นิวส์)

190920-SEA-climate-7.JPG

เด็ก ๆ และผู้ใหญ่ยึดถนนเพื่อประท้วงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในกรุงจาการ์ตา วันที่ 20 ก.ย. 2562 (อาฟรีอาดี ฮิคมาล/เบนาร์นิวส์)

190920-SEA-climate-88.JPG

นักเรียนชาวบังกลาเทศ ในกรุงธากา ถือป้าย ประกาศการมีส่วนร่วมกับทั่วโลก ในการหยุดงานประท้วง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วันที่ 20 ก.ย. 2562 (เมกห์ โมเนอร์/เบนาร์นิวส์)

190920-SEA-climate-9.jpg

กลุ่มการแสดงของตัวตลกต่อขา ขี่จักรยานล้อเดียว ก็เข้าร่วมในการประท้วง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในกรุงมะนิลา มี20 ก.ย. 2562 (โจโจ ริโนซา/เบนาร์นิวส์)

190920-SEA-climate-10.jpg

เด็กน้อย นักเคลื่อนไหวชาวอินโดนีเซีย ก็มีส่วนร่วมในการประท้วง ที่กรุงจาการ์ตา เรียกร้องให้ผู้นำโลกช่วยแก้ปัญหาสภาพการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วันที่ 20 กันยายน 2562 (อาฟรีอาดี ฮิคมาล/เบนาร์นิวส์)

190920-SEA-climate-11.jpg

นายอดิศร นุชดำรงค์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยืนถ่ายภาพท่ามกลางเด็กและเยาวชน หลังจากได้รับมอบจดหมายเปิดผนึก ในกรุงเทพฯ วันที่ 20 ก.ย. 2562 (ภิมุข รักขนาม/เบนาร์นิวส์)

190920-SEA-climate-12.jpg

นักเคลื่อนไหวชาวฟิลิปปินส์ถือป้ายบอกความกังวลเรื่อง โลกร้อน ในระหว่างการประท้วง ที่มหาวิทยาลัย ในฟิลิปปินส์ กรุงมะนิลา วันที่ 20 กันยายน 2562 (โจโจ ริโนซา/เบนาร์นิวส์)

เด็กและเยาวชนหนุ่มสาวหลายพันคนนัดรวมตัว เพื่อเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ ในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยแสดงความสมานฉันท์ขับเคลื่อนผ่านโซเชียลมีเดียร่วมกันนับล้านคน เพื่อต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกที่ทวีความรุนแรง

เด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่จาก 150 ประเทศ นัดเดินขบวนวันเดียวกัน Global Climate Strikes เรียกร้องเร่งผู้นำทั่วโลกให้ช่วยโลก ลดภาวะโลกร้อน แฮชแท็ก#Climate Strike ช่วยรวมพลังทั่วทุกมุมโลกออกเคลื่อนไหว สามวันก่อนที่ผู้นำหลายประเทศจะมาร่วมการประชุมสุดยอดที่สหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ที่กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

“ฉันต้องการทำบางสิ่งเพื่อเด็กรุ่นต่อไปของโลก มันทำให้ฉันคับข้องใจผิดหวัง ที่เห็นว่าโลกกำลังจะสลายและเราไม่ทำอะไรเลย ฉันอยากทำอะไรบางอย่างที่สามารถช่วยชีวิตเด็กในอนาคต และโลกใบนี้ได้” มาร์ลีนา วิลสัน วัย 17 ปี นักเรียนโรงเรียนนานาชาติเบิร์คลีย์ กรุงเทพฯ หนึ่งในผู้นำการเคลื่อนไหว

ในกรุงเทพฯ เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และนักเคลื่อนไหวร่วม 200 คน ตะโกนพร้อมกันว่า “เราต้องการความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ.. ตอนนี้!” ก่อนที่จะส่งจดหมายเปิดผนึกถึงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรียกร้องให้รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ

หลังจากได้รับจดหมายแล้ว นายอดิศร นุชดำรงค์ รองปลัดกระทรวงฯ กล่าวว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะรักษาสิ่งแวดล้อม และจะห้ามใช้ถุงพลาสติกในร้านค้า ภายในปีหน้า

ในกรุงมะนิลา และเมืองอื่น ๆ ในฟิลิปปินส์ ประชาชนฝ่าฝนที่ตกอย่างหนัก เพื่อเข้าร่วมการประท้วงอย่างสงบ ที่มหาวิทยาลัย ในฟิลิปปินส์ และวิทยาลัยอื่น ๆ ทั่วประเทศ

“ผมเข้าร่วมการประท้วงครั้งนี้ เพราะคนรุ่นผม จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ริโอ คอนสแตนติโน วัย 21 ปี สมาชิกคนหนึ่งขององค์กร 350.org.กล่าว

“ผมหวังว่า จากการเข้าร่วมเคลื่อนไหวด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับคนอื่น ๆ ทั้งหมดนี้ เราสามารถสร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น”

ภิมุข รักขนาม ในกรุงเทพฯ โจโจ ริโนซา ในกรุงมะนิลา อาฟรีอาดี ฮิคมาล ในจาการ์ตา และ เมกห์ โมเนอร์ ใน ธาการ์ มีส่วนร่วมในการรายงาน

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง