ชาวมุสลิมชายแดนใต้ฉลองรายอ ภายในครอบครัว ท่ามกลางโควิดระบาด

มารียัม อัฮหมัด และทีมข่าวเบนาร์นิวส์
2021.05.13
ยะลา และนราธิวาส
TH-SS-eid-1

เด็กหญิง อนับ หวังหนิ สวดดุอาร์ที่บ้าน ขอให้โควิดหมดสิ้นไปโดยเร็ว และทุกคนปลอดภัย อำเภอยะหา จังหวัดยะลา วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 (มารียัม อัฮหมัด/เบนาร์นิวส์)

TH-SS-eid-2

ชาวบ้านทำพิธีดุอาร์ ก่อนร่วมกินอาหารเฉลิมฉลองรายอที่บ้าน ในอำเภอยะหา จังหวัดยะลา วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 (มารียัม อัฮหมัด/เบนาร์นิวส์)

TH-SS-eid-3

ชาวมุสลิมประกอบพิธีละหมาดวันอีดบนถนน ในตอนเช้า เพื่อเฉลิมฉลองการสิ้นสุดเดือนรอมฎอน ขณะที่มัสยิดยังคงปิด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ในจังหวัดนราธิวาส วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 (เอเอฟพี)

TH-SS-eid-4

หญิงมุสลิมตรวจอุณหภูมิร่างกาย ก่อนเข้าร่วมละหมาดในวันอีดิ้ลฟิตรี ตอนเช้าบนถนน ขณะเจ้าหน้าที่ปิดมัสยิด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจังหวัดนราธิวาส วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 (เอเอฟพี)

TH-SS-eid-5

สมาชิกในครอบครัวร่วมกันสวด ที่หลุมศพของญาติผู้ล่วงลับ ในวันอีดิ้ลฟิตรี วันสิ้นสุดเดือนรอมฎอนของศาสนาอิสลาม ในจังหวัดนราธิวาส วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 (เอเอฟพี)

บรรยากาศเทศกาลเฉลิมฉลองวันเทศกาลอีดิ้ลฟิตรีของชาวไทยมุสลิม ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นไปอย่างคึกคัก ท่ามกลางการระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้น นับเป็นปีที่สองติดต่อกันแล้ว

ประชาชนร่วมกันระมัดระวัง ด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคมกับบุคคลและครอบครัวอื่น เคร่งครัดการสวมหน้ากาก ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ โดยส่วนใหญ่ต่างแยกทำละหมาดที่บ้านตนเอง มีการเตรียมอาหาร เพื่อเฉลิมฉลองวันสิ้นสุดเดือนรอมฎอน กับเฉพาะสมาชิกในครอบครัว

หลังละหมาดรายอ ส่วนใหญ่ต่างพร้อมใจกันสวดขอพร ขอให้โควิดผ่านพ้นไปโดยเร็ว และขอให้ทุกคนปลอดภัย 

ในขณะที่มีการรวมตัวกันละหมาดเป็นกลุ่ม นอกมัสยิด หรือบนถนน ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก รวมถึงมีการเว้นระยะห่างระหว่างกัน

ด้านนางสาวีนะ มะนาหิง กล่าวว่า "พวกเราเป็นครอบครัวใหญ่ แม้จะร่วมละหมาดและฉลองกันเฉพาะภายในครอบครัว ก็ยังจะเห็นว่า เป็นกลุ่มใหญ่มาก และเมื่อเจอกับเพื่อนบ้านหรือคนนอกครอบครัว ก็จะส่งยิ้ม ทักทายกันเท่านั้น ไม่มีการจับมือสลามกันเหมือนเช่นเคย"

ด.ญ. ฮัสวาตี อาบู อายุ 6 ปี กล่าวว่า “วันนี้ได้เงิน หลังเดินรับเงินบริจาคที่บ้านได้ 180 บาท ผู้ใหญ่ไม่ไปละหมาดรายอที่มัสยิด ก็ไม่มีการบริจาคเงินจากผู้ใหญ่อีก แต่แบบนี้ก็มีความสุข” 

“ที่นี่ยังมีการละหมาดที่มัสยิด แต่ก็น้อยมาก มีเฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่และเยาวชน ส่วนคนแก่และเด็กไม่ได้ไปที่มัสยิด เพราะถือเป็นกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันน้อย พวกเราจึงร่วมกันละหมาด เฉพาะกลุ่มที่แข็งแรง มีการใส่หน้ากาก ล้างมือด้วยเจล นำผ้าปูละหมาดของตนเองมาจากบ้าน และเว้นระยะห่าง ตามที่จังหวัดมีมาตรการกำหนด” นายอูมา ขอสงวนนามสกุล ชาวบ้านในจังหวัดยะลา กล่าวแก่เบนาร์นิวส์

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง