คณะพูดคุยสันติสุขไทยและบีอาร์เอ็น พร้อมหารือกันอีกครั้ง
2024.02.01
กรุงเทพฯ

คณะพูดคุยสันติสุขของไทยและตัวแทนจากขบวนการบีอาร์เอ็น วางแผนจะกลับมาเจรจากันอีกครั้งในสัปดาห์หน้า หลังจากกระบวนการดังกล่าวหยุดไปเป็นเวลา 1 ปี เนื่องจากประเทศไทยคุกรุ่นอยู่กับการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ในปี 2566 ที่การแย่งตำแหน่งรัฐบาลกินเวลาหลายเดือน
ตัวแทนจากรัฐบาลไทยและบีอาร์เอ็น ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี ที่ยืนระยะมาอย่างยาวนานและมีศักยภาพในการควบคุมกำลังพลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มการเจรจาเพื่อหาข้อยุติร่วมกันภายใต้ 3 ประเด็นหลัก นั่นคือ การปรึกษาหารือสาธารณะกับประชาชนในพื้นที่ การลดความรุนแรง และการแสวงหาทางออกทางการเมืองเพื่อยุติความไม่สงบที่เกิดขึ้น
สำหรับการเจรจารอบที่ผ่านมาซึ่งสิ้นสุดลงในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 กลุ่มบีอาร์เอ็นยื่นข้อเสนอว่ารัฐบาลต้องอนุญาตให้ตัวแทนเดินทางเข้าเขตชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ก่อความไม่สงบเพื่อหารือต่อสาธารณะด้วยตนเอง แต่กำหนดการณ์นี้กลับถูกกองทัพไทยปัดตกเพราะผู้นำหวั่นเกรงว่าการพูดคุยนี้อาจจะทำให้ภาพของรัฐบาลเสียหาย เนื่องจากแรงสนับสนุนอันท่วมท้นของประชาชนในพื้นที่ต่อฝั่งตัวแทนของบีอาร์เอ็นจะทำลายภาพจำเก่าที่สื่อสารว่า ชาวมาเลย์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดปัตตานีเป็นฝั่งเดียวกันกับรัฐบาลไทย
อย่างไรก็ตามทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้มีการตกลงเรื่องรูปแบบของการเจรจาพูดคุย
รัฐบาลไทยมีเป้าประสงค์ให้คณะพูดคุยฝ่ายบีอาร์เอ็นของไทยและผู้อำนวยความสะดวกฝ่ายมาเลเซียร่วมโต๊ะเจรจาในทุกการประชุมปรึกษาหารือสาธารณะ แต่กลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐบาลยืนยันว่าวาระเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประเด็นความขัดแย้งได้ถูกแก้ไขจนน่าไว้วางใจในระดับหนึ่งแล้วเท่านั้น และเมื่อถึงเวลานั้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งสามฝ่ายจึงจะสามารถเริ่มการหารือของฝั่งตนเองได้
ลดความรุนแรง
เนื่องจากสมาชิกกลุ่มบีอาร์เอ็นบางคนเห็นว่าข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์
นอกจากหลักการทั้งสามข้อที่ถูกหยิบยกมาหารือบนโต๊ะเจรจาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ฝ่ายรัฐไทยก็วางแผนที่จะยื่นข้อเสนอเพื่อยุติการหยุดยิงในช่วงเดือนถือศีลอดที่กำลังจะเดินทางมาถึงระหว่างวันที่ 10 มีนาคม – 9 เมษายนนี้ โดยทั้งสองฝ่ายต่างสังเกตการณ์การหยุดยิงที่ผ่านมาในเดือนรอมฎอนปี 2565 ซึ่งรัฐบาลถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากและวางเป้าหมายที่จะสานต่อ
นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมากลุ่มบีอาร์เอ็นยืดระยะเวลาการหยุดยิงออกไปอีก 10 วันจนถึงวันวิสาขบูชา เพื่อเป็นการแสดงไมตรีจิตต่อชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่หลังจากนั้นไม่กี่วัน เหตุการณ์ก่อความไม่ความสงบก็ปะทุขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งสัญญาณเตือนให้กับทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานที่ได้คร่าชีวิตผู้คนกว่า 7,300 ชีวิตนับตั้งแต่การจลาจลแบ่งแยกดินแดนในเดือนมกราคม ปี 2547 จะไม่มีวันจบลงง่ายๆ
นายฉัตรชัย บางชวด (ซ้าย) หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขชายแดนภาคใต้ พบกับ พล.อ. ซุลกิฟลี ไซนัล อบิดิน ผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยฯ ของมาเลเซีย ในภาพถ่ายที่ไม่ระบุวันที่ (สภาความมั่นคงแห่งชาติ)
ก่อนข้อเสนอหยุดยิงชั่วคราวในช่วงเวลาถือศีลอดในปี 2566 รัฐบาลไทยไม่สามารถบรรลุข้อตกลงที่คล้ายคลึงกันกับบีอาร์เอ็นได้ สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะไทยไม่อนุญาตให้ทีมติดตามระดับนานาชาติเข้าไปยังพื้นที่ตามคำขอของกลุ่มบีอาร์เอ็น อีกทั้งยังแช่แข็งเรื่องนี้ไว้เพราะต้องทุ่มความสนใจไปที่การเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ วาระการเจรจาในช่วงเดือนรอมฎอนที่กำลังจะเดินทางมาถึงในอีกไม่เกินหกสัปดาห์นี้จึงยังไม่ปรากฏการตกลงที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าบีอาร์เอ็นจะย้ำหลักการเดิมในการหยุดยิง และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษที่ไม่อาจระบุจำนวนได้ ซึ่งถือเป็นการทดสอบว่ารัฐบาลจะเคลื่อนไหวอย่างไร เพราะกระทรวงยุติธรรมจะต้องเข้ามาแสดงจุดยืนในเรื่องนี้
หลักการข้อที่สาม
การแสวงหาทางออกทางการเมือง ซึ่งเป็นข้อเสนอประการที่สาม ถือว่าเป็นว่าความท้าทายที่ค่อนข้างปลายเปิด แต่อาจมองได้ว่ารัฐไทยถือไพ่เหนือกว่าเนื่องจากทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันแล้วว่าหลักการนี้จะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ภายใต้หลักการของการรวมรัฐไทย
แนวทางทั้งสามข้อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม (Joint Comprehensive Plan towards Peace - JCPP) ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการที่รู้จักกันดี และคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในเดือนเมษายน แม้ว่าการตกลงในรายละเอียดจะยังอยู่ในระหว่างดำเนินการก็ตาม แต่ประเด็นนี้ยังไม่ถือว่าเป็นประเด็นร้อนเท่ากับว่า กลุ่มบีอาร์เอ็นจะสามารถจะยอมรับข้อตกลงอื่นๆ ที่ไม่ใช่การแยกตัวออกมาเป็นรัฐอิสระได้หรือไม่
นับตั้งแต่สมาชิกกลุ่มบีอาร์เอ็นชี้แจงว่าพวกเขาพร้อมจะหารือแนวทางข้อที่สามภายใต้รัฐธรรมนูญไทย และปฏิบัติตามหลักการของการรวมรัฐไทย ผู้สังเกตการณ์ทั้งหลาย รวมถึงเหล่าทหารก็ได้ตีความการเคลื่อนไหวนี้ว่าเป็นการประนีประนอมในข้อเรียกร้องที่จะแยกตัวออกมาเป็นรัฐอิสระ ซึ่งถ้าเหล่าทหารต่อต้านแนวคิดนี้ บีอาร์เอ็นอาจจะต้องประสบกับภาวะที่ยากลำบากได้
คณะเจรจาของไทยนำโดย นายฉัตรชัย บางชวด รองหัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งถือว่าเป็นการแหวกขนบของแกนนำผู้เดินหน้าพูดคุยเจรจา เพราะนายฉัตรชัยเป็นพลเรือน แต่อดีตผู้นำการเจรจาคนก่อนๆ ดำรงตำแหน่งเป็นนายพลในกองทัพ
นายฉัตรชัย วางแผนให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งเป็นองค์กรพิเศษที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมเจรจาด้วย ซึ่งนายฉัตรชัยเคยเปิดเผยว่า ซึ่งสามารถตีความได้ว่าชีวิตความเป็นอยู่และสถานการณ์ความสงบสุขในสามจังหวัดชายแดนใต้จะต้องถูกนำไปเจรจาควบคู่กัน
ในขณะที่ พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และอดีตแกนนำคณะพูดคุยสันติสุขฯ กระตุ้นให้ภาคประชาสังคมเป็นตัวแทนในการเจรจาเพื่อสันติสุข แต่ไม่ให้โอกาสให้พวกเขาได้ร่วมโต๊ะเจรจา และเนื่องจากพล.อ.อุดมชัยออกจากตำแหน่งเพราะได้รับการเสนอชื่อจากคสช. ให้ทำหน้าที่ส.ว. ข้อเสนอนี้จึงไม่เคยได้รับแม้แต่โอกาสที่จะก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง
ปัจจุบัน หากมีการเสนอให้ยื่นแนวคิดลักษณะเดียวกันนี้ ข้อเสนอนั้นก็มักจะถูกปัดตกลงทันทีเนื่องจากผู้นำภาคประชาสังคมมาเลย์ปาตานีกว่า 43 คนในสามจังหวัดชายแดนใต้ถูกกองทัพและตำรวจกล่าวหาว่ายุยงปลุกปั่นให้เกิดแนวคิดในการแบ่งแยกดินแดนไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
ในขณะเดียวกัน นักกิจกรรมชายแดนใต้ก็เดินสายเรียกร้องให้รัฐหยุดคุกคามประชาชน และระบุว่าประชาชนควรจะ “มีสิทธิในการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์” ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของเสรีภาพในการพูด ในขณะที่บีอาร์เอ็นจะถูกกดดันอย่างหนักให้แสดงจุดยืนจากการที่รัฐใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อคุกคามประชาชน
ดอน ปาทาน เป็นนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงในประเทศไทยที่ทำงานเกี่ยวกับความขัดแย้งและการก่อความไม่สงบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความคิดเห็นในงานเขียนนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนเอง ไม่ใช่ของเบนาร์นิวส์